สวทช. จับมือหน่วยงานพันธมิตรจัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML อินทรีย์ พร้อมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน

สวทช. จับมือหน่วยงานพันธมิตรจัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML อินทรีย์ พร้อมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดกิจกรรม “งานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง: จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้ “โครงการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ

ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน

เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542

สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 9-12 มกราคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลงพื้นที่ติดตาม ให้คำปรึกษาและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาเเละไทยเจริญ จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เเละข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา