เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมดาหลา เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส: น.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นผู้แทน สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส” ระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา โดยมี รศ.ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และนายศุภโยค ลอดิง นายกเทศมนตรีตำบลบูเก๊ะตา ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในนาม “หน่วยงานความร่วมมือโครงการ Smart
สื่อความรู้: ฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์
สื่อความรู้ภายใต้ความร่วมมือ
กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่ > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ
การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง
สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ การดำเนินงานของ สท./สวทช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร/ชุมชนตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับการผลิตและขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนอื่น ดังเช่น > ภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ > จุฬารัตน์ อยู่เย็น เจ้าของฟาร์ม “คนทำฟาร์ม” หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ที่จัดโดย สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์” > กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา
สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า
มูลนิธิโครงการหลวง-สวทช. ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง
มูลนิธิโครงการหลวงและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” สอดคล้องตามแนวทางของมูลนิธิที่มุ่งให้ “เกษตรกรมีรายได้พอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการฟื้นฟู” นายจรัลธาดา กรรณสูต ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย สอดคล้องตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวงให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 ที่ได้พระราชทานแนวทางสำคัญของการดำเนินงาน คือ “เมื่อไม่รู้ต้องวิจัย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน “มูลนิธิโครงการหลวงได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สวทช. ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่บุคลากรและเกษตรกรของมูลนิธิฯ มาอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบนพื้นที่สูงในทุกมิติให้ดีขึ้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะได้ร่วมกับโครงการในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงในทุกมิติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน
สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สท.) และฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. ลงพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน กระชับความร่วมมือกับ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ และ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ขับเคลื่อน “โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” กำหนดโจทย์มุ่งเป้าและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน ให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตั้งเป้ายกระดับคนจนเป้าหมายในมิติเศรษฐกิจพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีรายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจน ยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มาตั้งแต่ปี 2562 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สวทช.