สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

20​ กรกฎาคม ​2566​ ณ จังหวัดศรีสะเกษ- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และนายอนุรัตน์​ ธรรมประจำจิต​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารส่วนราชการในจังหว​ัด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม​ ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่มในพื้นที่อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ: สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “เอนไซม์เอนอีซ (ENZease)” ให้กลุ่มชาวบ้านบ้านอุ่มแสง เพื่อยกระดับผ้าไหมพื้นเมือง ซึ่งเอนไซม์เอนอีซเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยทำความสะอาดและลอกแป้งออกจากเส้นใยในขั้นตอนเดียว

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก) ระหว่างวันที่ 23–25 ธันวาคม 2565 ณ ลานสาเกตนคร บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ สท. ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและชุมชนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จัดแสดง ได้แก่ ตัวอย่างสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดย สวทช. สารชีวภัณฑ์ พืชหลังนา (ถั่วเขียว) สารชีวภัณฑ์ อาหารโค TMR การแปรรูปข้าว สิ่งทอ นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรในเครือข่าย สท. ที่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา

สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร  ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา

(วันที่ 17 กันยายน 2565) ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร” ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม รวมทั้งสถาบันการศึกษาในพื้นที่ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับการปลูกพืชสมุนไพร นำร่องขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมเชื่อมโยงบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด รับซื้อผลผลิตคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการตลาด เปิดช่องทางการตลาดใหม่ สร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ ศาสตราจารย์

สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”

สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์

อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด  พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง

สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สท.) และฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. ลงพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน กระชับความร่วมมือกับ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ และ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ขับเคลื่อน “โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” กำหนดโจทย์มุ่งเป้าและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน ให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตั้งเป้ายกระดับคนจนเป้าหมายในมิติเศรษฐกิจพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีรายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจน ยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มาตั้งแต่ปี 2562 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สวทช.

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง