รู้จัก รู้ใช้ เอ็น พี วี จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

รู้จัก รู้ใช้ เอ็น พี วี จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

ดาวน์โหลดเอกสาร รายการ Club Farmday ตอน NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้ายhttps://www.youtube.com/watch?v=MoQD_Njzljc รายการ Club Farmday Special ตอน ทำไมต้องใช้ไวรัส NPV ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริงกว่า 10 ปีhttps://www.youtube.com/watch?v=64wt_hkBK90 บทความ NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้ายhttps://www.nstda.or.th/agritec/npv/ ขอคำแนะนำและสั่งซื้อไวรัส NPV ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3781 บริษัท ไบรท์ออร์แกนิค จำกัด114/146 หมู่ 10 ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130โทรศัพท์ 064

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

“ทุเรียน สื่อถึงไม้ผลที่ปลูกในระบบอินทรีย์ยากที่สุด ส่วนผึ้ง เป็นตัวแทนแมลงที่ดีในระบบนิเวศ” รัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี บอกถึงความหมายของโลโก้ “ปัถวีโมเดล” ที่มีสมาชิก 22 สวนในอ.มะขาม จ.จันทบุรี และเครือข่ายอีกกว่า 20 สวนจาก 6 อำเภอในจังหวัดจันทบุรีที่ผลิตผลไม้อินทรีย์ภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand รัฐไท เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์ ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกวิถีการทำสวนไม้ผลจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากคนหัวใจอินทรีย์อีกหลายคน นั่นคือ ผลกระทบต่อสุขภาพ เขาเริ่มต้นจากหยุดการใช้สารเคมี ปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมี และแสวงหาสิ่งที่จะทดแทนสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยหาความรู้จากทุกแหล่งทั้งจากปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระอย่างศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ที่ทำให้เขาได้แนวคิด “ศรัทธาว่าต้องทำได้”

เรื่อง “ปุ๋ยๆ กับเศษผัก 30 ตัน”

ปุ๋ยไม่พลิกลับกอง

ในแต่ละวันกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศจากดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ตัน ถูกจัดส่งเข้าโรงงานตัดแต่งผักของบริษัท คิงส์ วิช จำกัด สาขาแม่ฮ่องสอน และโรงงานตัดแต่งผักของคุณวิทยา หวานซึ้ง เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร ผักหัวแล้วหัวเล่าถูกตัดแต่งให้สวยงามก่อนเคลื่อนตามกันบนสายพาน ผ่านการชั่งน้ำหนักบรรจุลงถุง จัดเตรียมลงตะกร้าขึ้นรถห้องเย็น พร้อมเดินทางไกลกว่า 1,500 กิโลเมตรสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างค้าปลีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี … เมื่อของดีพร้อมส่งขาย แล้วของเสียอย่างเศษผักที่มีถึงวันละ 30 ตัน …เดินทางไปไหน “ทิ้ง” เป็นทางออกแรกที่ทั้งสองโรงงานจัดการกับเศษผักเหล่านี้  หลังจากที่ก่อตั้งโรงงานที่ ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2558 พร้อมกับค่าจ้างขนทิ้งเดือนละ 65,000 บาท และได้รับ “เสียงร้องเรียนเรื่องแมลงวันและกลิ่น” เป็นผลตอบแทน

NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้าย

NPV4

“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที” “อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์” คำตอบที่มักคุ้น แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ใช่ว่าเมื่อใช้สารเคมีแล้ว จะต้องเป็นทาสของสารเคมีตลอดไป ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการ “ศัตรูพืช” ได้อยู่ “สารชีวภัณฑ์” เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม “ไวรัสเอ็นพีวี” เป็นหนึ่งในสารชีวภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ประสิทธิภาพฉกาจนัก ที่สำคัญยังใช้ได้ทั้งเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย รู้จัก “ไวรัสเอ็นพีวี” ไวรัสเอ็นพีวี (Nuclear Polyhedriosis Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค มีการทดสอบความปลอดภัยของไวรัสเอ็นพีวีและผลิตเป็นการค้าจำหน่ายทั่วโลก ไวรัสเอ็นพีวีมีความจำเพาะต่อหนอนแต่ละชนิดๆ โดยในประเทศไทยพบไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น องุ่น

ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย

test kit

บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บอกว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก

“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง

Microbes4

เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน-ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช.