เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก

สท./สวทช. หนุน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’

สท./สวทช. หนุน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’

เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2563 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาคภาคใต้ (ศวภ.3) คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และกลุ่มเครือข่ายชาวนาวิถีวิทย์ 12 กลุ่ม ใน 11 อำเภอของจังหวัดสงขลา จัดงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจากนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงาน งาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ให้เกิดการกระตุ้นและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สวทช. ผนึกอุดรธานีหนุนแหล่งท่องเที่ยวไม้ดอกแห่งใหม่ ชู “ปทุมมาห้วยสำราญ” สายพันธุ์ใหม่จากงานวิจัย

สวทช. ผนึกอุดรธานีหนุนแหล่งท่องเที่ยวไม้ดอกแห่งใหม่ ชู “ปทุมมาห้วยสำราญ” สายพันธุ์ใหม่จากงานวิจัย

สวทช. ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน ประเดิมจัดงาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ชมความงามปทุมมาหลากสายพันธุ์ถึง 31 ตุลาคมนี้ พร้อมเปิดตัว “ปทุมมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า  จากความร่วมมือระหว่าง สวทช. และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดนั้น สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง โดยนำชิ้นส่วนสำคัญของพืช เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง ใบ ดอก มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ “ปทุมมา” นอกจากเพื่อการผลิตต้นพันธุ์ปทุมมาปริมาณมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต้นพืชที่ได้ปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่แล้ว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังเก็บรักษาพันธุ์พืชทั้งในเชิงอนุรักษ์ฐานพันธุกรรม และเชิงการผลิตต้นพันธุ์ได้ตลอดปี แม้ว่าเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเซลล์จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงและสารควบคุมการเจริญเติบโตใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเจริญและพัฒนาจากชิ้นส่วนพืขไปเป็นต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปัจจุบันเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาพันธุ์ปทุมมา ดังนี้ 1. การเพิ่มจำนวนของสายพันธุ์ปทุมมา เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถหาได้และมีสำรองตลอดปีสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ (พืชสกุลนี้พักตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม) 2. การเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์สำหรับใช้เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ 3. การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (Embryo culture) และการช่วยชีวิตเอ็มบริโอ (Embryo rescue) จากการผสมข้ามชนิด (interspecific

ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ผลงานวิจัยจากโครงการพัฒนาไม้ดอกสกุลขมิ้นเพื่อการค้าพันธุ์ใหม่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัคกี้ซีดส์อโกร จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีแลนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ จังหวัดอุดรธานี” มีลักษณะเด่น คือ กลีบดอกหนา ปลายกลีบสีน้ำตาลเล็กน้อย ก้านช่อดอกแข็งแรง ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม แตกหน่อ 3–4 หน่อต่อหัวพันธุ์ เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถาง­­และไม้ประดับแปลง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปทุมมาพันธุ์ห้วยสำราญ ราก/หัว              ระบบรากฝอยและมีรากสะสมอาหาร สะสมอาหารบริเวณปลายราก ทำให้ปลายบวมออกเป็นตุ้ม ต้น                   ลำต้นใต้ดินหรือหัวมีลักษณะเป็นเหง้า (rhizome) ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในเหง้าสีขาว ลำต้นส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียม เกิดจากการอัดตัวแน่นของกาบใบ มีความสูงจากระดับโคนต้นถึงปลายพุ่มประมาณ 40-45 เซนติเมตร ใบ                   

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ขาวยูคิ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ปลายกลีบดอกมีสีเขียวเล็กน้อย ระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร ลานนาสโนว์ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ก้านยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตรระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร เชียงใหม่พิ้งค์ ลำต้นสูงขนาดใหญ่ (L) ดอกใหญ่สีชมพู ปลายกลีบดอกมีน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ลัดดาวัลย์ ลำต้นแข็งแรง ขนาดใหญ่มาก (XL) ดอกสีชมพูอ่อนหลายชั้น ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ทับทิมสยาม ลำต้นขนาดเล็กมาก (XS) ดอกและก้านดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีม่วง ปลายกลีบดอกมีสีเขียวน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ปทุมมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร คนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันนออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งพืชในสกุลขมิ้นจะเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน สามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำดอกไม้พื้นเมืองนี้ถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมมาท่าน้อง” และ “บัวสวรรค์” และเป็นชื่อ “ปทุมมา” ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2510 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ได้ให้ความสนใจดอกไม้พื้นเมืองของไทย คือ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำดอกไม้สกุลขมิ้นปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี