ในยุคที่ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ เช่น ข้อมูลและผลงานวิจัย จัดเป็น“สิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้” ที่สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไร้ขีดจำกัด แต่ทว่าการจัดเก็บที่ไม่เอื้ออำนวย มีข้อจำกัดในการเข้าถึงและการแบ่งปันให้เกิดประโยชน์ ในปี พ.ศ. 2559 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงมีแนวคิดปลดล็อกการแบ่งปัน การเข้าถึง และการใช้ซ้ำ ด้วยการพัฒนานโยบาย “วิทยาการแบบเปิด (Open Science)” ซึ่งองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้นิยามว่า วิทยาการแบบเปิดเป็นแนวคิดการทำงานทางวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม (Inclusive construct) ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้แบ่งปันข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์และสังคม ด้วยการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยความรู้ (Open knowledge) ให้เข้าถึงได้ (Open access) และใช้ข้อมูลซ้ำได้ (Reproducibility) อย่างเสรี ซึ่งเชื่อมโยงกับไตรภาคีที่เป็นหัวใจหลักของวิทยาการแบบเปิดดังรูปที่ 1 ......  [อ่านต่อ]