25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62

หัวข้อ

ระบบไซเบอร์กายภาพ กุญแจสู่ Smart Factory (Cyber-Physical Systems, a Key to Smart Factory)
วันที่และเวลา วันที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น.
สถานที่ ห้องประชุม CC-403 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  ระบบไซเบอร์-กายภาพ คือ ระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ (Physical World) กับโลกไซเบอร์ (Cyber World) เข้าด้วยกัน โลกกายภาพประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร มนุษย์ ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อม ส่วนโลกไซเบอร์หรือโลกดิจิทัลนั้นเป็นโลกแห่งการประมวลผลและการควบคุม การผนวกสองโลกเข้าด้วยกันเริ่มจากการเชื่อมต่อของสิ่งต่างๆ ในโลกกายภาพแบบเป็นเครือข่าย ซึ่งเทคโนโลยี IoT ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connectivity) การสื่อสาร (Communications) และการนำข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสภาวะแวดล้อมต่างๆ ในโลกกายภาพส่งต่อไปให้โลกของไซเบอร์ช่วยประมวลผล (Computing) วิเคราะห์คำนวณ หรือตัดสินใจ เพื่อส่งข้อมูลย้อนกลับมาควบคุม (Feedback Control) โลกกายภาพอย่างเป็นอัตโนมัติ การหลอมรวมของสองโลกนี้ทำให้สิ่งต่างๆ ในระบบสามารถเชื่อมต่อทำงานร่วมกันได้


โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือที่เรียกกันว่า Industry 4.0 ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เทคโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้เร็วขึ้น ลดต้นทุน ลดความผิดพลาด และลดความเสียหาย รวมถึงยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องจักร ทั้งนี้ Industry 4.0 เกิดขึ้นได้จากการนำเทคโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมาบูรณาการในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Cyber-Physical System (CPS) และ Internet of Things (IoT) ที่ทำให้สิ่งของ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้เป็นเครือข่าย

กำหนดการ
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
09.10 – 09.30 น. Mass customization ทางรอดของอุตสาหกรรมในยุค Industry 4.0
โดย คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
09.30 – 09.50 น. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับอุตสาหกรรม 4.0
โดย คุณชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์  
สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec)
09.50 – 10.10 น. Innovation & Collaboration in Smart Manufacturing – An introduction of NARLabs Intelligent Technology (To be confirmed)
โดย  Dr. Yao-Joe Joseph YANG
Taiwan Instrument Research Institute (TIRI),
National Applied Research Laboratories (NARLabs), Taiwan
10.10 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง
10.30 – 11.10 น. Smart Factory คนไทยทำได้ – กรณีศึกษาจากโรงงานที่ได้รับรางวัลในการประกวด Maker Startup
โดย ผู้แทนโรงงานที่ได้รับรางวัลในการประกวด Maker Startup 3 โรงงาน
11.10 – 11.30 น. ศูนย์ระบบไซเบอร์กายภาพ โครงสร้างพื้นฐานเสริมแกร่งโรงงานอัจฉริยะ
โดย ดร. กุลชาติ มีทรัพย์หลาก
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
11.30 – 12.00 น. เวทีเปิด เพื่อการอภิปราย ถาม ตอบ


< ย้อนกลับ