25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62

หัวข้อ

สะเต็มศึกษาและวิทยาการคำนวณ: องค์ความรู้และการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกแห่งศตวรรษที่ 21
(STEM Education and Computing Science: Active Science learning in 21st Century) (Close Session)
วันที่และเวลา วันอังคารที่ 26 – วันพุธที่ 27 มกราคม 2562
สถานที่

ห้องประชุม SSH-Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สะเต็มศึกษาและวิทยาการคำนวณ: องค์ความรู้และการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกแห่งศตวรรษที่ 21” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการพื้นฐานทางด้านวิทยาการคำนวณและแนวคิดทางด้านสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญที่สำคัญในการรองรับสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในโลกอนาคต ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ครูสามารถนำองค์ความรู้และแนวคิดที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นการบูรณาการองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เน้นการนําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

ประกอบกับเทคนิคการใช้คำถามแนวสร้างสรรค์ เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่สนุกสนานเอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการคิด การตัดสินใจ การทำงานร่วมกัน เกิดการสั่งสมประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ตลอดจนการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่นักเรียนได้รับจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วต่อไป

กำหนดการ
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2562
09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงาน
โดย ดร.บัญชา แสนทวี         
ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สวทช.

เปิดการสัมมนา
โดย ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล     
รองผู้อำนวยการ สวทช.                                                 
ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
09.30 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง วิทยาการคำนวณ (Computing Science): องค์ความรู้สำคัญแห่งโลกอนาคต  
โดย
ผศ. ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์         
มหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์

อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์เมตตา มงคลธีระเดช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
13.00 – 14.45 น. บรรยายและกิจกรรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Programming)
โดย
ผศ. ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์         
มหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์

อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์เมตตา มงคลธีระเดช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

และทีมวิทยากรผู้ช่วย งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
15.00 – 16.00 น. บรรยายและกิจกรรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบ ลาก-วาง (Block Programming)
โดย
ผศ. ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์         
มหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์

อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์เมตตา มงคลธีระเดช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

และทีมวิทยากรผู้ช่วย งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
16.00 – 17.00 น. เยี่ยมชมงานนิทรรศการการประชุมวิชาการประจำปีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งที่ 15
  
วันพุธที่ 27 มีนาคม 2562
09.00 – 12.00 น. บรรยายและกิจกรรม เรื่อง “วิทยาการคำนวณ ระดับเด็กปฐมวัย”
โดย
คุณฤทัย จงสฤษดิ์
ฝ่ายวิชาการและกิจกรรมเยาวชนวิทยาศาสตร์ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ                                                                   
คุณกิตติยา บำบัดภัย คุณสุคนธา อาวัชนาการ คุณปฐมาภรณ์ ชุมแสง  คุณศิโรจน์ ศรีสรากรณ์ คุณกนกพรรณ เสลา คุณฉมาพร ขจรบุญ และคุณปิยาภรณ์ วงษ์อักษร
งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
13.00 – 14.30 น. จุดประกายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เรื่อง “ห้องเรียนแห่งอนาคต:
สร้างเสริมการเรียนรู้เชิงรุก จากการเล่นสู่การส่งต่อทางความคิด”

โดย ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนลียีชีวภาพแห่งชาติ
14.45 – 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง
“รายวิชาใหม่กับการนำไปใช้ในบริบทของสถานศึกษาไทย”                
โดย ดร. บัญชา แสนทวี
ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
16.00 – 16.30 น. มอบเกียรติบัตร ถ่ายภาพร่วมกัน และปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
โดย ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล     
รองผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


< ย้อนกลับ