magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "solar cell"
formats

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกอาคารสำนักงาน

โดย William G. Schulz &Emily Bones, Chemical and Engineering News January 6, 2014 หน้าต่างสำนักงานอาคารและตึกระฟ้าสามารถทำเป็นสีสันต่างๆ  เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์นั้น  มีความเป็นไปได้ยุคสมัยนี้ ถ้าหากว่าแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) มีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพสูง และมีความสวยงาม ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ รายงานว่า แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสง สามารถนำมาประยุกต์ใช้บนหน้าต่าง โดยที่แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้ควรมีประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงและ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างเพียงพอและแสงยังคงสามารถทะลุผ่านได้ จากการศึกษาวัสดุอินทรีย์ที่ใช้สามารถดูดกลืนแสงอินฟราเรดและแสงที่ตามอง เห็น แต่วัสดุแหล่งนี้มีประสิทธิภาพ ในการ เปลี่ยนแปลงพลังงานต่ำ  ส่วนวัสดุอนินทรีย์กึ่งตัวนำ อาทิ เช่น ซิลิกอนอสัณฐาน (Amorphous silicon) มี ประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงที่ตามองเห็น เพราะฉะนั้นวัสดุประเภทนี้ควรบางเพื่อให้โปร่งแสง เพื่อช่วยลด ปริมาณของโฟตอน (Photons) คณะผู้วิจัย นำทีมโดย นักฟิสิกส์ Henry J. Snaith มหาวิทยาลัย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่ ย่อยสลายได้ในน้ำ นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology และ Purdue University ได้ร่วมกันประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพืชบนส่วนประกอบหลักเซลลูโลสนาโนคริสตัลที่สามารถละลายในน้ำและนำมารีไซเคิลได้อีกด้วย เซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์ดังกล่าวนั้นมีค่าประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานอยู่ที่ 2.7 %  ซึ่งนักวิจัยนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากแล้วสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบหมุนเวียนได้อย่างพืชแบบนี้ “ก้าวต่อไปของพวกเราก็คือการพัฒนาให้อัตราการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ตัวนี้เพิ่มสูงเกินกว่า 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกประดิษฐ์บนแก้วหรือส่วนประกอบหลักที่มีปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบหลัก” Bernard Kippelen ผู้เป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมจาก Georgia Tech กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154921– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตู้เอทีเอ็ม พลังงานแสงอาทิตย์

หากบ้านของเราอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างจะทุรกันดาร หรือว่าวันใดวันหนึ่งได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในแดนดินที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยสะดวกสบายมากนัก น้ำไฟมีใช้กันอย่างประหยัด พลังงานต่างๆ ก็ต้องใช้กันอย่างทะนุถนอม เราก็คงจะลำบากกันไม่ใช่น้อย และที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามแต่ “เงิน” ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องมีติดตัวกันไว้ ถ้าหากเราไปท่องเที่ยวเราจะพกเงินสดติดตัวจำนวนมากไปด้วยก็ดูจะเป็นการล่อแหลมต่อพวกมิจฉาชีพกันไม่ใช่น้อย ดังนั้น “ตู้กดเงินสด” หรือ “ATM” (Automatic Teller Machine) จึงมีความสำคัญไม่ใช่น้อย และหากเราจำเป็นต้องกดเงินสดจาก ATM แต่เครื่อง ATM นั้นมีไม่มากนัก ยิ่งอยุ่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ห่างไกลกว่าจะได้กดเงินจะต้องขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์ ไปอีกหลายกิโลเมตร เท่ากับเราต้องสูญเสียทั้งเงินและพลังงานในการเดินทางไปมากทีเดียว การที่จะสร้างตู้ ATM ให้พร้อมใช้หรือมีในถิ่นทุรกันดาร หรือทุกๆ พื้นที่ก็คงจะลำบาก เพราะการก่อสร้างหรือการติดตั้งตู้ ATM ในแต่ละแห่งนั้นต้องใช้อุปกรณ์มากมาย ด้วยเหตุนี้เกาะบาหลี จึงได้ผุดไอเดียสร้างสรรค์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการสร้างตู้ ATM ในชนบทที่ห่างไกลโดยใช้โครงสร้างที่ของตู้ด้วยไม้ไผ่ อะลูมิเนียมรีไซเคิล และติดกระจกแทนการใช้ฐานคอนกรีตหลายร้อยกิดลกรัม พร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้พลังงานกับตู้ ATM เพื่อให้พลังงาน และแสงสว่าง โดยตู้ ATM อนุรักษ์พลังงานนี้จะไม่พึงพาพลังงานจากสายไฟฟ้าแต่อย่างใด และผลลัพทธ์ที่ได้จากตู้ ATM นี้คือ ช่วยประหยัดพลังงาน สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีความสวยงาม

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments