magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "Association of South East Asian Nations" (Page 2)
formats

ปี 56 ไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ที่มีประชากรสูงวัย

คำว่า “สังคมสูงวัย” พิจารณาได้จากประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีมากกว่าร้อยละ 7 และหากมีมากกว่า ร้อยละ 14 เรียกได้ว่าเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และ ถ้ามีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 จัดว่า เป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ประเทศสิงคโปร์แก่ที่สุดในอาเซียน คือ ร้อยละ 12 รองลงมาคือ ไทย ร้อยละ 11 และเวียดนาม ร้อยละ 7 และในอีก 30 ปีข้างหน้า คือ ปี พ.ศ. 2583 ทั้ง 3 ประเทศจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด รายการอ้างอิง: ศุทธิดา ชวนวัน. ประชากรสูงวัยในอาเซียน. ประชากรและการพัฒนา 33,4 (เม.ย.-พ.ค. 56) : 11. [ออนไลน์] : www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร (Towards ASEAN Community 2015 of Agricultural Sector)

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) นั้น สามารถส่งผลดีและผลกระทบต่อภาคการเษตร เพื่อรัษาภาคการเกษตรของไทย เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส หรือสร้างโอกาสในการขยายการดำเนินการธุรกิจไปยังประเทศสมาชิก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียนความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียน ขึ้น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเร่งรัดให้มีความพร้อมของภาคการเกษตรเร็วยิ่งขึ้น และได้มีการจัดทำเว็บไซต์ “ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร”นี้ เพื่อเผยแพร่่ข้อมูลและกิจกรรมตามนโยบายดังกล่าว โดยสามารถติดตามได้ที่ http://moac2aec.moac.go.th/main.php?filename=index ผู้ที่จะได้รับผลดีและผลกระทบต่อภาคการเกษตร ตั้งแต่ระบบงานของรัฐ ระบบการผลิต ผลผลิต และสินค้าการเกษตรของเอกชนจนถึงเกษตรกรและผู้บริโภค น่าจะได้ติดตามอ่าน เพื่อจะได้รับทราบและเข้าใจถึงขั้นตอน กระบวนการ รายละเอียด ความท้าทาย และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน – ( 112 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015 (by ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperations: AWGIPC  and printed by Department of Intellectual Property of Thailand) compiles the background and concept of the ASEAN IPR Action Plan 2011-2015 and the resulting 28 Work Plans under the said action plan.– ( 308 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC เป็นหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ปลายปี 2554 และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2555 จนออกมาสู่แผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งจะมีการระดมสมองจัดทำแผนฏิบัติการ ในการสัมมนาครั้งนี้ ใน 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน ยุทธศาสตร์ที่ 2 :

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ  เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย.  กำกับ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Biorefinery)

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 3 เมษายน 2556  ของ ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ Biorefinery คือเทคโนโลยีที่ใช้ความรู้สหวิทยาการทำการปรับเปลี่ยน กลั่น วัสดุทางธรรมชาติ (พืช ของเสียจากโรงงาน) ให้เป็นพลังงาน สารเคมี  ไบโอพลาสติก อาหารสัตว์ โดยใช้ความรู้หลากหลายสาขาผสมผสานกัน  ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ เคมี นาโนเทคโนโลยี เอ็นไซน์  คาตาลิสต์ เป็นขนวบการสะอาด ช่วยลดมลภาวะ ถือเป็นการย้ายฐานจากการกลั่นปิโตรเลียม มาเป็นวัสดุทางธรรมชาติแทน   ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากด้วยมีพื้นฐานด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง มีวัตถุดิบมากมาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พัฒนาศักยภาพธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับ AEC และเวทีโลก

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 2 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ   ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี    สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ หัวข้อเรื่อง – เทคโนโลยี CAE กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยรองรับ AEC สู่การแข่งขันในเวทีโลก CAE – Computer Aided Engineering คือเทคโนโลยีที่รวมความสามารถทางวิศวกรรมผนวกเข้ากับความสามารถคอมพิวเตอร์รวมกัน ทำภาพจำลอง เสมือน แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (simulation) ตัวอย่าง การจำลองสถานการณ์รถยนต์ชนกระแทกโดยมีหุ่นมนุษย์อยู่ภายในรถ สามารถวิเคราะห์หาแรงกระแทกเพื่อติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถให้เพียงพอ และ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โอกาสหรืออุปสรรคของอุตสาหกรรมไบโอดีเซลไทยในประชาคมอาเซียน

เป็นหัวข้อการเสวนา ในวันที่ 1 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี     สรุปเนื้อหาการเสวนา 4 หัวข้อ ได้ดังนี้ หัวข้อเรื่อง – กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง H-FAME เหตุผลหลัก ในการผลิตไบโอดีเซล คือ Energy security, CO2 reduction, National policy และ Growth Agricultural/Forestry Industries องค์กร JST

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments