magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Librarian" (Page 4)
formats

กฤตภาค (Clipping)

Published on January 30, 2013 by in Librarian

กฤตภาค นับว่าเป็นวัสดุสารนิเทศของห้องสมุดอย่างหนึ่ง เป็นการนำข้อความหรือบทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์และวารสารฉบับล่วงเวลา โดยผู้ที่ต้องการจะเก็บบันทึกบทความ ข้อความที่น่าสนใจ บทบรรณาธิการ จดหมายถึงบรรณาธิการ ภาพถ่าย การ์ตูน รวมถึงเรื่องราวที่ยังไม่มีการรวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ฯลฯ มักรวบรวมเก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นคอลเล็กชัน โดยจะมีการจัดเก็บด้วยหัวเรื่อง หรือวิธีการจำแนกอื่น เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้าและอ้างอิง นอกจากนี้ยังสามารถเป็นประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ หรือรวบรวมเพื่อให้ทราบแนวโน้มความสนใจของประชาชนในเรื่องและช่วงเวลาต่างๆ ได้อีกด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Non-fiction book

Published on January 29, 2013 by in Librarian

หนังสือสารคดี (Non-fiction book) คือ หนังสือที่แต่งขึ้นจากเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ไม่ได้เจาะจงให้ความเพลิดเพลิน ถึงแม้ว่าเนื้อหาในหนังสือบางเล่มจะให้ทั้งสาระความรู้ ความเพลิดเพลินและความจรรโลงใจในการอ่านด้วยก็ตาม ซึ่งครอบคลุมวิชาการสาขาต่างๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การรักษาสุขภาพอนามัย ศาสนา ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ชีวประวัติ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Error messages (Computer science)

Error messages (Computer science) คือ ข้อความระบุความผิดพลาด ซึ่งเป็นข้อความที่จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงภาพโดยอัตโนมัติ หรือที่พิมพ์ออกมาทางรายงาน เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น มีบางอย่างผิด จึงทำให้โปรแกรมไม่สามารถดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่งข้อความดังกล่าวจะเป็นลักษณะข้อความไม่ยาวมาก เพียงพอสำหรับระบุว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นที่ใด แต่ไม่ได้บอกว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร ดังนั้นประสบการณ์ในการทำงานจึงจำเป็นมากสำหรับค้นหาและแก้ไขความผิดพลาด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Gale เปิดตัว The National Geographic Virtual Library

  Gale หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Information solutions สำหรับห้องสมุด โรงเรียน และธุรกิจ ร่วมกับ The National Geographic Society องค์กรทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่มิหวังผลกำไรของสหรัฐอเมริกา เจ้าของนิตยสารชื่อดังอย่าง The National Geographic เปิดตัว ห้องสมุดเสมือน National Geographic เมื่อต้นปี 2012 Gale ประกาศว่า ห้องสมุดสามารถสืบค้นและเข้าถึง นิตยสาร National Geographic ฉบับย้อนหลัง ระหว่างปี 1888-1994 นอกจากนี้ยังได้มีการขยายปีที่พิมพ์ของนิตยสารเพื่อให้บริการเพิ่มจากปี 1995 เป็นต้นไป รวมถึงคอลเลคชั่นอื่นๆ คือ หนังสือ แผนที่ ภาพ และ National Geographic Traveler magazine ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปัจจุบัน โดยตัวอย่างของหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งเผยแพร่ เช่น Polar Obsession โดย Paul

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลังสิ่งพิมพ์ของชาติ

ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดว่า สำนักพิมพ์หรือผู้พิมพ์ สิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จำนวน ๒ ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเผยแพร่ เพื่อนำไปให้บริการค้นคว้าในหอสมุดแห่งชาติ ๑ ฉบับ และอีกฉบับเก็บเข้าสู่คลังสิ่งพิมพ์แห่งชาติ เพื่อเ็ป็นหลักฐานการพิมพ์ของชาติ รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลกรณีเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐

การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีขั้นตอน ดังนี้ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ยื่นขอจดแจ้งการพิมพ์ที่หอสมุดแห่งชาติ ส่วนจังหวัดนอกจากนี้ ยื่่นขอจดแจ้งที่สำนักศิลปากรที่ 1-15 ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดนั้น ผู้ยื่นคำขอจดแจ้งการพิมพ์จะต้องกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ซึ่งต้องระบุชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาการออก ภาษา ชื่อและที่ตั้งของโรงพิมพ์ ยื่นแบบฟอร์ม พร้อมเอกสารต่างๆ ที่กำหนด เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญของสำนักพิมพ์ ฯลฯ สิ่งสำคัญคือ ตัวอย่างหนังสือ พร้อมลายมือชื่อรับรอง เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ถูกต้องครบถ้วน เช้น ชื่อหนังสือไม่ซ้ำกับหนังสือพิมพ์ที่เคยจดแจ้งไว้ก่อนหน้า คุณสมบัติของบรรณาธิการ และเจ้าของกิจการเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ฯลฯ ผู้ยื่นจดแจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดแจ้งตามอัตราที่กำหนด ผู้ยื่นจดแจ้งจะได้รับหนังสือสคัญแสดงการจดแจ้งเป็นหลักฐาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่ต่างกันของชาวอเมริกัน

  The Pew Research Center’s Internet & American Life Project เผยผลสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่แตกต่างกัน (ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง และชุมชนชนบท) ของชาวอเมริกัน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวอเมริกันจำนวน 2,986 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ระหว่างวันที 16 พ.ย. -21  ธ.ค. 2554 – ( 134 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บทบาทใหม่ของการบริการข้อมูลวิจัย (Research Data) และแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan)

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The US National Science Founsation : NSF) ได้มีข้อเสนอกำหนดให้ผู้ขอทุนวิจัยต้องเสนอแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan  : DMP) ซึ่งถือว่าแผนการจัดการจัดข้อมูลเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอทุนวิจัย อ่านรายละัเอียดเพิ่มเติม– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Top 3 กิจกรรม ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ

ห้องสมุด MIT เผยผลสำรวจกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด  MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ โดย 3 อันดับแรก คือ ต้องการขอใช้หนังสือหรือบทความ 64.7% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 13% ต้องการต่ออายุการยืมหนังสือ 64.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 14.5% ต้องการสืบค้นหนังสือและวารสาร 59.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17.5% กิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ คือ ต้องการฟังหรือดูการบรรยายย้อนหลัง 54.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 15.6% ต้องการอธิบายเอกสารหรือหนังสือ 51.8% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 10.1% ต้องการอ่านบทความวิชาการ 44.4% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 24.7% ต้องการจดหรือบันทึก 44.3% มีการใช้บริการจริงในปัจจุบัน 17% โดยปัจจุบันกิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ทำบนระบบออนไลน์มากที่สุด คือ การอ่าน e-book 29.5% ผลสำรวจดังกล่าวอาจช่วยสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงความท้าทายของผู้ให้บริการคือห้องสมุดในการตอบสนองความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้ ที่มาข้อมูล: Price, G. (2012). Survey Findings: Library

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments