magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Librarian Federated Searching
formats

Federated Searching

การสืบค้นแบบ Federated Search หรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า Single search หรือ One search เป็นการสืบค้นที่ถูกดึงเป็นเรื่องสำคัญของห้องสมุดเกือบทุกแห่ง ด้วยความสามารถของเครื่องมือนี้ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลจากหลายๆ แห่ง ในเวลาเดียวกัน ได้ด้วยการใส่คำค้นเพียงครั้งเดียวผ่านหน้าจอหรืออินเทอร์เฟสการค้นเพียงหนึ่งเดียว และแสดงผลการสืบค้นที่ได้เป็นชุดเดียว ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้รับข้อมูลทั้งจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือแม้แต่ฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ

สาเหตุที่การสืบค้นแบบ Federated Search เป็นที่ต้องการของห้องสมุดที่พยายามจัดหามาให้บริการในห้องสมุด เนื่องจากห้องสมุดมีฐานข้อมูลจำนวนมาก ทั้งฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพื้นฐานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นหาสารสนเทศที่ต้องการใช้  นอกจากนี้ ยังมีฐานข้อมูลออนไลน์อีกเป็นจำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ การมีเครื่องมือการค้นแบบ Federated search จึงช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการสืบค้น ไม่ต้องใช้คำค้นแต่ละครั้งในแต่ละฐานข้อูล และไม่ต้องเรียนรู้วิธีการค้นของแต่ละฐานข้อมูลหรืออาจจะกล่าวได้ว่า Federated search พยายามทำตัวเหมือน Google ของห้องสมุดในการกวาดหาสารสนเทศจากหลายๆ แห่งในเวลาเดียวกัน

ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการค้นแบบ Federated search เป็นจำนวนมาก (http://www.loc.gov/catdir/lcpaig/portalproducts.html) ศักยภาพในการสืบค้น หรือการแสดงผล ก็คงมีความแตกต่างกันออกไป บ้างก็เข้ากันได้ดีกับระบบ Turnkey ของห้องสมุด บ้างก็อาจจะเอื้อกับฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อมีซอฟต์แวร์ช่วยในการสืบค้นแบบนี้ที่สามารถค้นเข้าไปในฐานข้อมูลออนไลน์ได้นี้ การใช้งานจึงต้องจำกัดเฉพาะการใช้งาน เนื่องจากผูกติดกับการแสดงตัวตน (authentication) ของการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์เหล่านี้

นอกจากการสืบค้นจากหลายๆ ฐานข้อมูลแล้ว ยังมีการเชื่อมโยงไปถึงการให้บริการสำเนาเอกสารเอกสารอีกด้วย กรณีที่ห้องสมุดที่ให้บริการไม่มีเอกสารดังกล่าว และยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่น่าสนใจให้บริการ เช่น รายชื่อบทความวิชาการที่นิยม โดยเก็บสถิติของการใช้และเข้าถึงจากนักวิจัยทั่วโลก (Hot articles) หรือ Citation linker เป็นการค้นหาบทความวิชาการ/วารสารอิเล็กทรอนิกส์/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้ง ให้ใส่ tag ในรายการบรรณานุกรมที่สนใจด้วยตนเอง และเปิดให้บริการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย

ห้องสมุดก็คงจะต้องประเมินเครื่องมือนี้ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ถ้าตอบโจทย์ว่า ค้นได้หลายแห่งในเวลาเดียวกัน ได้ข้อมูลเร็ว ผู้ใช้ไม่ต้องเรียนรู้ระบบการค้นจากหลายๆ แหล่ง เครื่องมือนี้ ก็คงจะเป็นตัวช่วยได้ดี แต่ทั้งนี้ก็คงจะต้องประเมินในแง่ของผู้ใช้กับตัวช่วยว่าเป็นตัวช่วยที่แท้จริงหรือไม่ ด้วยข้อจำกัดของซอฟต์แวร์การค้นบางตัว ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องประสบปัญหาในการต้องส่งข้อมูลบรรณานุกรมกลับไปยังผู้ให้บริการซอฟต์แวร์นี้ ก็เท่ากับว่า ข้อมูลที่แสดงผลออกนั้น ไม่เรียลไทม์ วัฒนธรรมในการเรียนรู้ของผู้ใช้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ขอฝากไว้ด้วยค่ะ

บรรณานุกรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิทยทรัพยากร. Find it@Chula : ค้นง่าย… ได้ทุกสิ่ง. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2556 จาก http://primo.car.chula.ac.th:1701/primo_library/libweb/singlesearchmanualAUG.pdf

มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. สำนักหอสมุด. การสืบค้นธรรมศาสตร์ One Search. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2556 จาก http://203.131.219.245/onesearch.pdf

สมาน ลอยฟ้า. การค้นคืนสารสนเทศด้วยระบบ Federated Search. 2553. วารสารสารสนเทศศาสตร์ 28, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2553): 73-84.

The Library of Congress. Portals Applications Issues Group. Federated Search Portal Products & Vendors. Retrieved January 8, 2014 fromhttp://www.loc.gov/catdir/lcpaig/portalproducts.html

The Truth about Federated Searching. Retrieved January 8, 2014 from http://www.infotoday.com/it/oct03/hane1.shtml

Hudson, Daniela. The “F” word: Federated search engines (2011).Retrieved January 8, 2014 from http://www.librarystudentjournal.org/index.php/lsj/article/view/237/309– ( 128 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


2 × four =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>