magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Librarian" (Page 3)
formats

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)

Published on July 25, 2013 by in Librarian

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่เป็นตอนๆ หรือออกมาตามลำดับ หรือมีความต่อเนื่องเป็นระยะๆ  หรือเข้าชุด หรือเป็นชุด หรืออนุกรมสาร และหรือหนังสือที่พิมพ์ออกเป็นตอนออกตามกำหนดระยะเวลาที่สม่ำเสมอแน่นอน โดยมักจะออกเป็นวาระ ได้แก่ – ( 250 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุดบกพร่อง (Bug)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

จุดบกพร่อง (Bug) เป็นจุดบกพร่อง ข้อผิดพลาด หรือปัญหาที่ผู้เขียนหรือผู้พัฒนาโปรแกรมทำคำสั่งบกพร่องหรือผิดพลาดกับโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็ตามที่ส่งผลทำให้ระบบและกระบวนการทำงานของโปรแกรมผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ระบบงานทั้งหมด หรือบางส่วนหยุดชะงัก รวมถึงอาจจะสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลสำคัญได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงจุดบกพร่อง ข้อผิดพลาด หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) อีกด้วย หากเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาดกับโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) นั้น สามารถแก้ไขได้โดยการแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) แต่หากเกิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) นั้น สามารถแก้ไข กำหนดค่าต่างๆ ออกแบบหรือสร้างวงจรกันใหม่ – ( 70 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุลสาร (Booklet, Pamphlet)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

จุลสาร (Booklet, Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ลงข่าวสารหรือความรู้ อาจเสนอความรู้เป็นเรื่องๆ หรือหัวข้อเฉพาะเรื่อง ผลิตออกเผยแพร่ไม่ต่อเนื่อง เป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน  จัดอยู่ประเภทของหนังสือ แต่มีลักษณะเล็กและบาง ไม่แข็งแรง อาจเป็นแผ่นกระดาษชพับซ้อนกัน หรือไม่เย็บเป็นเล่ม หรืออาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่เย็บเล่มแต่มักใช้ปกอ่อนหุ้มหรือไม่หุ้มปกหุ้ม สามารถพกพาสะดวก ซึ่งประกอบไปด้วยความหนาอย่างน้อย  5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า มีจำนวนคำอยู่ในช่วง 500 -1,000 คำ มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวและจบบริบูรณ์ภายในเล่ม มักเป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการ องค์การ สถาบันต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ พิมพ์แจกแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และเป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่า ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเพื่อเผยแพร่งานเขียนในศตวรรษที่ 16 การจัดเก็บจุลสารนั้น ห้องสมุดจะกำหนดหัวเรื่องตามเนื้อหาของจุลสาร จัดเก็บใส่แฟ้ม แล้วนำเก็บไปไว้ในตู้หรือชั้นเก็บเอกสาร โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่องนั้นๆ โดยห้องสมุดใช้สัญลักษณ์แทนเลขหมู่ ดังนี้ จุลสารภาษาไทย ใช้ จ.ส. ย่อจาก จุลสาร จุลสารภาษาต่างประเทศ ใช้ V.F. ย่อจาก vertical file

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ราชกิจจานุเบกษา (Gazette)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

ราชกิจจานุเบกษา (Gazette) เป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับการแจ้งข่าวและเผยแพร่เรื่องที่เกี่ยวกับราชการ ได้แก่ เหตุการณ์ปัจจุบัน ประกาศทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การนัดหมายต่างๆ ตลอดจดการประกาศจดทะเบียบห้างหุ้นส่วนและบริษัท กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องประกาศหรือส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นเรื่องสำคัญที่สมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ฯลฯ ซึ่งมีอายุยืนยาวที่สุด ในประเทศไทยมีการจัดพิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทยครั้งแรกใน พ.ศ.2401 – ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

50 ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่น่าอัศจรรย์ (Amazing) ที่สุดในโลก

มีการรวบรวมห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในโลก จำนวน 50 แห่ง โดยเป็นของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ มีหลายรัฐติด 1 ใน 50 แห่งนี้ด้วย นอกนั้นจะมี สหราชอาณาจักร  สเปน เยอรมัน และอียิปต์ ที่มีจำนวน 2-3 แห่ง ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา เม็กซิโก  และในฝั่งยุโรป ได้แก่ ไอร์แลนด์ อิตาลี ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม  โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ฮังการี กานา ในเอเชีย มีญี่ปุ่น และ มาเลเซีย ติดมาประเทศละ 1 แห่ง ห้องสมุดทั้ง 50 แห่ง ได้แก่ – ( 271 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่

สาระสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่” วันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 56 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กทม. มีสาระสำคัญ 9 ประการดังนี้   – ( 1391 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่

Published on March 13, 2013 by in Librarian

ในปัจจุบัน สังคมอุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการให้บริการของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน ดังนั้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ หรือนักสารสนเทศของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารหลากหลายรูปแบบของคนในสังคม มีการปรับบทบาทเพื่อบุกเบิก ส่งเสริม และประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารกับนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปใช้ในการบริหารจัดการ แลกเปลี่ยน เผยแพร่ และเรียนรู้องค์ความรู้และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อสามารถสนับสนุนการให้บริการและการใช้งานอย่างเหมาะสมกับห้องสมุดและผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมและความต้องการที่แตกต่างกันไป และสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้ แต่การจะปรับเปลี่ยนเป็นห้องสมุดยุคใหม่ให้มีประสิทธิผลนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้กล่าวปาฐกถาไว้ในการประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร ประจำปี 2556 “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่ (Live and Learn in the Modern Library)” เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้ – ( 368 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“Best Practice Recommendations For Identifying Digital Products”

วัน 25 ก.พ. 2013 Book Industry Study Group (BISG) ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสาร “Best Practice Recommendations For Identifying Digital Products” เพื่ออธิบายแนวปฏิบัติ (Best practices) และแนวทางความรับผิดชอบในการกำหนด ISBN สำหรับสื่อดิจิทัล เพื่อลดความสับสนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมหนังสือ คู่มือดังกล่าวเป็นการปรับปรุงจากฉบับเดิมที่เผยแพร่เมื่อเดือน ธ.ค. 2011 โดยเป็นผลจากการสอบถามและสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มอุตสาหกรรมหนังสือ ทั้งนี้จากการสอบถามความคิดเห็นพบว่าปัญหาหนึ่งที่พบมากที่สุด คือ การใช้ ISBN ผิดวัตถุประสงค์/วิธี กับ เนื้อหาดิจิทัล ซึ่งเกิดจากการขาดการสื่อสาร ทั้งนี้ BISG กล่าวว่า เอกสารชุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบรรณารักษ์ที่ลงรายการ ทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloger) ที่มาข้อมูล Book Industry Study Group. (2013). Best practice recommendations for identifying digital products.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Key Performance Indicator Handbook for Libraries Serving Print Disabled People

Key Performance Indicator Handbook for Libraries Serving Print  Disabled People คือ คู่มือที่ IFLA หรือ International Federation of Library Associations and Institutions เขียนขึ้น เพื่อแนะนำชุดเครื่องมือชี้วัดที่สำคัญเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการซึ่งมีความบกพร่องในการอ่าน เนื่องจากความพิการเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น พัฒนาการทางสติปัญญา การรับรู้ และการเรียนรู้ โดยพัฒนาจาก ISO 11620:2008 (Information and documentation — Library performance indicators) โดยเฉพาะความคิดเห็นที่ได้รับจากตัวแทนของสมาชิกของห้องสมุดในกลุ่ม IFLA เนื่องจากความต้องการของห้องสมุดในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการซึ่งมีความบกพร่องในการอ่านนั้นอยู่นอกเหนือไปจากขอบเขตของมาตรฐานทั่วไปที่มีอยู่เดิม  คลิกอ่านคู่มือฉบับเต็ม– ( 213 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เขตข้อมูล (field)

Published on January 31, 2013 by in Librarian

เขตข้อมูล (field) คือ พื้นที่ที่กันไว้สำหรับเก็บข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหน่วยย่อยรองลงมาจากระเบียน เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละระเบียน เช่น เขตข้อมูลปีที่พิมพ์จะเป็นส่วนที่บอกได้ว่าระเบียนที่ค้นคืนได้ หรือที่แสดงผลอยู่นั้นจัดพิมพ์ในปีใด หรือเขตข้อมูลชื่อเรื่องช่วยจำกัดผลการค้นให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น การลงรายการทรัพยากรห้องสมุดนั้น เขตข้อมูล (field) เป็นการกำหนดว่าแต่ละเขตข้อมูลนั้นจะมีความยาวเท่าไร และตำแหน่งเริ่มต้นที่ตำแหน่งใด โดยแต่ละระเบียนจะประกอบไปด้วยเขตข้อมูลจำนวนมากรวมกัน และจัดกลุ่มหรือประเภทของเขตข้อมูลด้วยหมายเลขประจำเขตข้อมูล โดยใช้เลข 3 หลัก เริ่มต้นจาก 001 ถึง 999 แทนชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูล ค้นหา และประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 5039 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments