magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Web Accessibility จิตสำนักที่ควรมีต่อการพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตรฐาน WCAG
formats

จิตสำนักที่ควรมีต่อการพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตรฐาน WCAG

เริ่มเห็นหน่วยงานต่างๆ พัฒนาเว็บไซต์ตามข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Web Content Accessibility Guidelines: WCAG) ที่ออกโดยองค์การมาตรฐาน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web Consortium: W3C) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้คนพิการทุกกลุ่ม รวมทั้งคนปกติแต่อยู่ในสภาวะที่อาจจะไม่สามารถใช้งานเว็บได้ตามปกติ สามารถเข้าถึงเนื้อหาเว็บ และใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ได้ โดยเว็บที่พัฒนาตามข้อกำหนดนี้ มักจะติดโลโก้แสดงว่าเว็บของตนผ่านมาตรฐาน ดังนี้

อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญของการพัฒนาเว็บไซต์ที่อยากนำเสนอในครั้งนี้คือ อย่ามุ่งเน้นการนำเสนอว่าผ่านมาตรฐานดังกล่าวและต้องมี Logo ติดเพื่อประกาศให้ทุกคนทราบว่าเว็บได้มาตรฐาน แต่ควรหันกลับไปทบทวนจุดประสงค์จริงๆ ว่าข้อกำหนดดังกล่าวทำเพื่ออะไร และเว็บของเราได้ตอบจุดประสงค์ดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร เช่น ได้ทดสอบเว็บที่ผ่านการตรวจสอบว่าได้มาตรฐาน WCAG กับกลุ่มคนพิการหลากหลายกลุ่มแล้วหรือไม่ ผลการทดสอบจริงจากคนพิการดังกล่าวเป็นอย่างไร

หากพัฒนาเว็บและติด Logo ว่าได้มาตรฐานแต่ไม่เคยทดสอบจริง ก็คงไม่สามารถตอบได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวรองรับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง เพราะระบบตรวจสอบก็คงตรวจสอบได้ในมิติของคำสั่งที่วางไว้ โดยไม่ครอบคลุมความหมายที่แท้จริงของเว็บไซต์ที่คนพิการต้องการทราบ เช่น หากมีภาพแสดงกราฟข้อมูลยอดขาย แล้วใส่คำอธิบายเพียง “กราฟ” ระบบอ่านบนจอ (Sreen Reader) ก็คงอ่านออกมาให้คนตาบอดว่า “กราฟ” ซึ่งเค้าก็คงไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นกราฟอะไร รายละเอียดอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ติด Logo ควรจะมีจิตสำนึกที่แท้จริงว่าไม่ใช่กระแสนิยม แต่ต้องให้คนพิการใช้ประโยชน์ได้จริงๆ– ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three × 3 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>