คู่มือโควิด-19

สวทช. โดยฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ เขียนโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ จัดทำเอกสารนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยมีเนื้อหาดังนี้

  • โคโรนาไวรัสชนิดใหม่คืออะไร
  • ทำไมจึงเรียกว่า โควิด-19?
  • โควิด-19 พบครั้งแรกในประเทศจีนใช่หรือไม่
  • ไวรัสแพร่กระจายอย่างไร?
  • อากาศร้อนช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้จริงหรือไม่?
  • ยุงหรือเห็บหมัดนำเชื้อไวรัสนี้ได้หรือไม่?
  • ต้องป้องกันตัวเองอย่างไร?
  • การสวมหน้ากากอนามัยสำคัญอย่างไร?
  • มีข้อควรระวังเกี่ยวกับหน้ากากอะไรบ้าง?
  • หากต้องไปรักษาตัวด้วยโรคอื่นที่โรงพยาบาลช่วงโควิด-19 ระบาดจะปลอดภัยหรือไม่?
  • จะติดเชื้อจากจดหมายหรือพัสดุภัณฑ์ได้หรือไม่?
  • ยังบริจาคเลือดได้ไหม?
  • คนที่สวมคอนแทกต์เลนส์ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่?
  • น้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?
  • การทำความสะอาดพื้นผิวแลพผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรทำอย่างไร?
  • ถ้าป่วยหรือมีคนในบ้านป่วย ควรทำอย่างไร?
  • หากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?
  • เด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะป่วยจากโควิด-19 แค่ไหน?
  • เด็กๆ จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่?
  • เด็กๆ ออกไปเล่นกับเพื่อนได้หรือไม่?
  • เด็กๆ ใช้เวลากับผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคปรจำตัวได้หรือไม่?
  • โควิด-19 ทำให้เกิดอาการอย่างไรบ้าง?
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะติดไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกัน?
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเก็บตัวอย่างและตรวจที่บ้าน?
  • จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อแค่ไหน?
  • เมื่อใดควรเข้ารับการตรวจโควิด-19 และผลตรวจหมายความว่าอย่างไร?

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ เว็บไซต์ สวทช.

Disclaimer: ข้อมูลในเอกสารนี้ได้จากการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งอ้างอิง โดยหลักมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC, Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา, องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization), เว็บไซต์ด้านวิชาการ เช่น วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และสื่อสารมวลชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการปฏิบัติตนบางอย่างที่แตกต่างออกไป ให้ถือปฏิบัติตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)

Creating A Sustainable Future For Thai Farming Sector And Local Communities With STI

This publication illustrates our work in introducing technologies, innovations along with assistance in a number of areas – such as market access, quality standards and business development – with the ultimate goal of enhancing capacity and competitiveness of our farmers, villagers and social enterprises. It is our belief that enhanced capacity of our farming sector and people in the rural communities will become a robust engine to meet Sustainable Development Goals and support the Government’s Bio – Circular – Green (BCG) economic model.

Contents:

  • Homcholasit: a promising rice cultivar for a flood-prone area
  • New cultivars make mung bean a cash crop
  • Raising cassava productivity through technology
  • Switching to organic farming for better health and income
  • Weather station: enabling instrument for precision farming
  • Orchard management with smart farming technology
  • Replacing chemicals with microorganisms
  • Ensiling crop materials for feed makes cattle business more profitable
  • Latex pillow: adding value to natural rubber and strengthening community business
  • Planting new crop of seed farmers
  • Empowering community enterprise with science and technology
  • Community enterprise marketer: a vital link between community enterprise and market
  • Rice processing business takes off from a fresh idea

สามารถดาวน์โหลดเอกสารนี้ได้ที่นี่

เติบแกร่ง แทงยอด: สท. คือใคร ตัวอย่างผลงานปี 2560

หนังสือ “เติบแกร่ง แทงยอด: สท. คือใคร ตัวอย่างผลงานปี 2560” นำเสนอผลงานส่วนหนึ่งจากการทำงานของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ที่ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรให้พร้อมที่จะเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

หนังสือเริ่มจากการทำความรู้จักกับ สท. เทคโนโลยีที่ สท. ถ่ายทอดสู่ชุมชน พื้นที่ที่ สท. ลงไปถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร การเชื่อมโยงผลผลิตการเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม และความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร

สามารถดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ได้ที่ เว็บไซต์ สวทช. 

ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ไขปริศนา 100 ข่าวสิ่งแปลกที่ชาวบ้านพากันกราบไหว้ขอหวย

หนังสือ “ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ จัดทำโดย ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รวบรวมข่าว แปลกดังกล่าวในรอบสี่ปีที่ผ่านมาเป็นหลัก คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2555 แล้ว สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้
ข้อมูลในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ต่อข่าวดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจข้อมูลทาง วิชาการที่ถูกต้อง แม้บางเรื่องอาจจะยังมีคำตอบที่ไม่ชัดเจน เพราะต้องอาศัยเวลา และการทดลองเพื่อหาคำตอบ ซึ่งเราไม่มีโอกาสได้ทำ แต่อย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ให้แนวทางและวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวได้ ตัวอย่างความเชื่อ เช่น

  • แห่ขอหวยต้นกล้วยตั้งท้องออกลูกเหมือนคน
  • กล้วยประหลาดปลีคล้ายพญานาค
  • คอหวยลุกฮือ! แห่ขอเลขเด็ดต้นมะพร้าว 3 ยอด
  • ชาวบ้านแห่ขอหวย “มะละกอ” ประหลาดมี 6 แฉก คล้ายหนวดปลาหมึก
  • ชาวอยุธยาแตกตื่น!! แห่ขอหวย “ปลาไหลสีทอง”
  • ทึ่งจิ้งจก 3 หาง แจกบ้านใหม่ฃ
  • ลูกแมวประหลาด มีตาเดียว จมูกงวงช้าง
  • พบเห็ดรูปร่างแปลกขึ้นใต้ต้นโพธิ์ ชาวบ้านแห่ดูขอเลขเด็ด เป็นต้น

สามารถดาวน์โหลดหนังสือนี้ ได้ที่เว็บไซต์ สวทช.