สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข และคณะอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปทุมมา ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) และนายสันติ อาริยะ ผู้ช่วยนักวิจัย สวทช. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อปทุมมาอย่างง่ายทำได้ที่บ้าน   นอกจากนี้ สท. และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้ส่งมอบหัวพันธุ์ปทุมมาให้เกษตรกรเครือข่ายนำร่อง 9 ราย ภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง โดยนำชิ้นส่วนสำคัญของพืช เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง ใบ ดอก มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ “ปทุมมา” นอกจากเพื่อการผลิตต้นพันธุ์ปทุมมาปริมาณมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต้นพืชที่ได้ปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่แล้ว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังเก็บรักษาพันธุ์พืชทั้งในเชิงอนุรักษ์ฐานพันธุกรรม และเชิงการผลิตต้นพันธุ์ได้ตลอดปี แม้ว่าเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเซลล์จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงและสารควบคุมการเจริญเติบโตใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเจริญและพัฒนาจากชิ้นส่วนพืขไปเป็นต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปัจจุบันเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาพันธุ์ปทุมมา ดังนี้ 1. การเพิ่มจำนวนของสายพันธุ์ปทุมมา เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถหาได้และมีสำรองตลอดปีสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ (พืชสกุลนี้พักตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม) 2. การเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์สำหรับใช้เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ 3. การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (Embryo culture) และการช่วยชีวิตเอ็มบริโอ (Embryo rescue) จากการผสมข้ามชนิด (interspecific