เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง โดยนำชิ้นส่วนสำคัญของพืช เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง ใบ ดอก มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ “ปทุมมา” นอกจากเพื่อการผลิตต้นพันธุ์ปทุมมาปริมาณมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต้นพืชที่ได้ปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่แล้ว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังเก็บรักษาพันธุ์พืชทั้งในเชิงอนุรักษ์ฐานพันธุกรรม และเชิงการผลิตต้นพันธุ์ได้ตลอดปี แม้ว่าเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเซลล์จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงและสารควบคุมการเจริญเติบโตใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเจริญและพัฒนาจากชิ้นส่วนพืขไปเป็นต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปัจจุบันเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาพันธุ์ปทุมมา ดังนี้ 1. การเพิ่มจำนวนของสายพันธุ์ปทุมมา เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถหาได้และมีสำรองตลอดปีสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ (พืชสกุลนี้พักตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม) 2. การเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์สำหรับใช้เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ 3. การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (Embryo culture) และการช่วยชีวิตเอ็มบริโอ (Embryo rescue) จากการผสมข้ามชนิด (interspecific

ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ”

ผลงานวิจัยจากโครงการพัฒนาไม้ดอกสกุลขมิ้นเพื่อการค้าพันธุ์ใหม่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัคกี้ซีดส์อโกร จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีแลนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ จังหวัดอุดรธานี” มีลักษณะเด่น คือ กลีบดอกหนา ปลายกลีบสีน้ำตาลเล็กน้อย ก้านช่อดอกแข็งแรง ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม แตกหน่อ 3–4 หน่อต่อหัวพันธุ์ เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถาง­­และไม้ประดับแปลง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปทุมมาพันธุ์ห้วยสำราญ ราก/หัว              ระบบรากฝอยและมีรากสะสมอาหาร สะสมอาหารบริเวณปลายราก ทำให้ปลายบวมออกเป็นตุ้ม ต้น                   ลำต้นใต้ดินหรือหัวมีลักษณะเป็นเหง้า (rhizome) ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในเหง้าสีขาว ลำต้นส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียม เกิดจากการอัดตัวแน่นของกาบใบ มีความสูงจากระดับโคนต้นถึงปลายพุ่มประมาณ 40-45 เซนติเมตร ใบ                   

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ตัวอย่าง “สายพันธุ์ปทุมมา” ที่ปลูกในประเทศไทย

ขาวยูคิ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ปลายกลีบดอกมีสีเขียวเล็กน้อย ระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร ลานนาสโนว์ ลำต้นขนาดกลาง (M) ดอกสีขาว ก้านยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตรระยะการปลูก 30×30 เซนติเมตร เชียงใหม่พิ้งค์ ลำต้นสูงขนาดใหญ่ (L) ดอกใหญ่สีชมพู ปลายกลีบดอกมีน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ลัดดาวัลย์ ลำต้นแข็งแรง ขนาดใหญ่มาก (XL) ดอกสีชมพูอ่อนหลายชั้น ระยะการปลูก 40×40 เซนติเมตร ทับทิมสยาม ลำต้นขนาดเล็กมาก (XS) ดอกและก้านดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีม่วง ปลายกลีบดอกมีสีเขียวน้ำตาลเล็กน้อย ระยะการปลูก

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ปทุมมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร คนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันนออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งพืชในสกุลขมิ้นจะเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน สามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำดอกไม้พื้นเมืองนี้ถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมมาท่าน้อง” และ “บัวสวรรค์” และเป็นชื่อ “ปทุมมา” ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2510 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ได้ให้ความสนใจดอกไม้พื้นเมืองของไทย คือ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำดอกไม้สกุลขมิ้นปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

จากความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตร สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดอุดรธานี ที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวและ Mice City ของจังหวัด สท. จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต่อยอดจากการปลูกไม้ดอกส่งจำหน่าย โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตปทุมมา ตั้งแต่สายพันธุ์ วิธีการปลูก การเก็บหัวพันธุ์จำหน่าย การใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา ตลอดจนการสนับสนุนปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ” ที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ให้ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ปลูกขยายเป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้​ในพื้นที่ งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 กันยายน-31 ตุลาคม

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ