มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

“มะเขือเทศอินทรีย์” อีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ที่ผสานทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้มะเขือเทศอินทรีย์ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า โดยพันธุ์ที่กลุ่มฯ ปลูก คือ พันธุ์ซันไซน์ พันธุ์แดงโกเมน (พันธุ์ที่ปรับปรุงโดย สวทช.) และพันธุ์โซลาริโน่ (พันธุ์การค้า) เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจปลูกมะเขือเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตลาดและต้นทุนของตนเอง (ทุน แรงงาน) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปลูก ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง o รู้ตลาด ความต้องการของตลาด เพื่อเลือกชนิดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนการปลูก  o รู้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น แสง โรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงดิน น้ำ ปัจจัยการผลิต เพื่อวางแผนการบริหารจัดการ เลือกวิธีป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีโอกาสเกิดขึ้น o รู้จักเทคโนโลยี เลือกใช้ตามความจำเป็นและทุน

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่  การดำเนินงานของ สท./สวทช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร/ชุมชนตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับการผลิตและขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนอื่น  ดังเช่น > ภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  > จุฬารัตน์ อยู่เย็น เจ้าของฟาร์ม “คนทำฟาร์ม” หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ที่จัดโดย สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์”  > กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

วิสาหกิจชุมชนปันบุญ

เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยาก แต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ -สุจารี ธนสิริธนากร- คือที่มาของชื่อ “สวนปันบุญ” แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ที่คนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปัน นับแต่ก่อตั้งกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” เมื่อปลายปี 2555 โดยมี สุจารี ธนสิริธนากร เป็นหัวเรือสำคัญที่เปิดรับและปรับเปลี่ยนนำพากลุ่มฯ พัฒนาจนกลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ปันบุญ” ที่ผลผลิตทั้งข้าวและผักได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมดำเนินงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญเมื่อปี 2561 ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง โดยทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ (ศวพ.กาฬสินธุ์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) และบริษัท

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง

การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การอนุรักษ์พื้นที่ป่าสาคูตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์มที่สำคัญชนิดหนึ่งในภาคใต้ ชอบขึ้นในพื้นที่พรุ ชุ่มน้ำ สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใบ-มุงหลังคา ยอด-ปรุงอาหาร ลำต้น-สกัดเอาแป้งมาประกอบอาหาร รวมถึงใช้เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ปัจจุบันป่าสาคูถูกภัยคุกคามจากการขุดลอกคูคลองและการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้ป่าสาคูลดน้อยลง ประชาชนในพื้นที่ตำบลโละจูด ประกอบอาชีพหลักกรีดยาง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ปลูกผักสวนครัว เป็นอาชีพเสริม  การเลี้ยงสัตว์ใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงเกิดกลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูขึ้น กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูมีสมาชิกทั้งหมด 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,000 บาทต่อครัวเรือน ปี 2557 จนปัจจุบัน ปี

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสาคูเลี้ยงเป็ด กรณีศึกษาตำบลโละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส

กลุ่มเลี้ยงเป็ดเพื่อการอนุรักษ์ป่าสาคูปัจจุบันมีสมาชิก 52 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้านในต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เลี้ยงเป็ดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15-20 ตัว ใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนและแป้งสาคูควบคู่กับการให้อาหารสำเร็จรูป รายได้จากการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เฉลี่ยเดือนละ 500-1,500 บาทต่อครัวเรือน ความสำเร็จจากการเลี้ยงเป็ดแห่งตำบลโละจูด ไม่ใช่แค่สร้างรายได้และสุขภาวะที่ดีให้คนในชุมชน แต่ทำให้ชาวบ้านเกิดทัศนคติที่ดีในการหวงแหนทรัพยากรอย่าง “ต้นสาคู” ด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน การให้ชุมชนหยุดรุกป่าและหันมาร่วมเป็นผู้พิทักษ์ สิ่งสำคัญคือชาวบ้านต้องมีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม ที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลาบาลา จ.นราธิวาส ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไม่ได้แค่ส่งเสริมการปลูกดาหลา แต่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงเป็ดเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนให้กับชุมชนด้วย ปัญหาส่วนหนึ่งของชาวบ้านตำบลโละจูด คือ ขาดโปรตีน ชาวบ้านนิยมกินแป้ง เช่น