สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ประธานกลุ่มสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือการผลิตทุเรียนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง คลิกชมวิดีโอย้อนหลัง อนึ่ง กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี‎

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT”

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีนักวิจัย สวทช. และผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์น้ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ อีกทั้งยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสัตว์น้ำแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่” คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต นักวิจัยทีมเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีชุด Aqua IoT ของ สวทช.” คุณวีระ

สท.-มทร.ศรีวิชัย ชูพริกไทยดำ-ไก่พื้นเมืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG

สท.-มทร.ศรีวิชัย ชูพริกไทยดำ-ไก่พื้นเมืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม-3 กันยายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ร่วมจัดแสดงนิทรรศการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในงานประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยนำเสนอโมเดลการปลูกพริกไทยดำและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากพริกไทยดำ และโมเดลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบมืออาชีพที่มุ่งเน้นเรื่องอาหารและการจัดการโปรแกรมอาหารสำหรับไก่พื้นเมือง อนึ่ง สวทช. และ มทร.ศรีวิชัย มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่/Young Smart Farmer

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

สท. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ขยายเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML อย่างครบวงจร

จากการทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ถั่วเขียว KUML เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของทั้งเกษตรกรและตลาด เกิดการขยายผลเทคโนโลยีและสร้างเครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนที่ผ่านมา น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมนำเสนอแนวทางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือและเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไป “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว KUML เป็นรายได้เสริมหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ในงานประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 8 “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บทความวิชาการ การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียว

สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร

เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว” และ “การถ่ายภาพสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ผลไม้ อาหาร” ณ ห้องประชุมประถมใจจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมีคุณธนอิน ตุ้มหิรัญ (โค้ชโซดา) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดจันทบุรีและใกล้เคียงจำนวน 36 คน ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้กลยุทธ์การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การสร้างเนื้อหา (content) เทคนิคการสร้างยอดขาย/ผู้ติดตาม การสร้างตัวตน เทคนิคการถ่ายภาพ/วิดีโอ การโพสต์ เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้ทำความรู้จักร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมท่องเที่ยวของแต่ละสวน และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

สวทช. ผนึกกำลัง บ.สยามคูโบต้าฯ ยกระดับเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช. ผนึกกำลัง บ.สยามคูโบต้าฯ ยกระดับเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

(วันที่ 22 สิงหาคม2566) ณ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตร/เกษตรอัจฉริยะ กับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์-ปอเรชั่น จำกัด นายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรและชุมชน ภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor

สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station

สท. ต้อนรับภาคเอกชนเยี่ยมชม AGRITEC Station

9 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี -นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ต้อนรับนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์กวางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานกรรมการบริษัท ซานยี่ สหสิงห์ ซีดส์ จำกัด พร้อมด้วยพนักงาน บริษัทฯ เยี่ยมชม Smart greenhouse & Smart farm technology ณ AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ สท. ให้การต้อนรับคณะผู้ประกอบการจากโครงการ “สร้างเครือข่ายการลงทุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs/Startups: อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ

สท. เสริมทักษะ “ปลูกผัก-ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง” ให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ

เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2566 นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักให้เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในต.เมืองบัว และต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ รวม 200 คน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เพื่อสร้างทักษะการผลิตผักไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน รวมทั้งการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้สถานที่ ณ บ้านโนนโพธิ์ หมู่ 9 และบ้านขาม หมู่ 2 ต.ไพรขลา บ้านโนนกลาง หมู่ 2 และบ้านบุตาโสม หมู่ 11 ต.เมืองบัว “การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก และการเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือน” ถ่ายทอดความรู้โดย อาจารย์ชนกเนตร ชัยวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์