Axios International มุ่งทำลายอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาด้วยเครื่องมือวิเคราะห์คุณสมบัติทางการเงินของผู้ป่วย (PFET)

          5 มกราคม 2564 – ความสามารถในการใช้จ่ายกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยต้องรับภาระค่ายานวัตกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มการเข้าถึงการรักษาในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) จึงควรมีรูปแบบการเข้าถึงการรักษาที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองมากกว่าความต้องการระยะสั้น บริษัท Axios International ซึ่งเป็นบริษัทเฮลธ์แคร์ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงการรักษาพยาบาล จึงได้คิดค้นแนวทางที่ยั่งยืนเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยผ่านการกำหนดจำนวนเงินที่ผู้ป่วยสามารถจ่ายได้โดยไม่เป็นปัญหาทางการเงิน

          เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. Joseph Saba ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ Axios International กล่าวเกี่ยวกับหัวข้อนี้ในการประชุม 6th International Conference on Public Health 2020 (ICOPH 2020) ว่า “การกำหนดวงเงินที่ผู้ป่วยสามารถสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้นั้น จะช่วยให้สามารถใช้งบประมาณเงินอุดหนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์อย่างเต็มรูปแบบในแนวทางที่ยั่งยืน”

          Axios International ได้สร้างดัชนีพหุภาคีแบบใหม่ขึ้นในปี 2550 ซึ่งเรียกว่า Patient Financial Eligibility Tool (PFET) ซึ่งรวมข้อมูลรายได้ สินทรัพย์ และมาตรฐานการครองชีพ (SoL) เพื่อประเมินเศรษฐกิจนอกระบบ/เศรษฐกิจเงินสด สำหรับการประเมินสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยแบบพหุมิติ เครื่องมือนี้จะประเมินสถานการณ์ทางการเงินของแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้ผู้ป่วยจ่ายเฉพาะสิ่งที่สามารถจ่ายได้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการดูแลสุขภาพรายใหญ่ อาทิ บริษัทยา บริษัทประกันภัย และหน่วยงานของรัฐ เข้ามาช่วยเติมเต็มช่องว่าง ซึ่งจะช่วยให้ได้รับประโยชน์ทางการแพทย์สูงสุด ในทางตรงกันข้ามกับโครงการบริจาคที่สามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น การวิจัยแสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศ LMICs นั้น 50-90% ของประชากรต้องจ่ายค่ายาด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งทำให้ประชากรไม่สามารถเข้ารับการรักษาเป็นในวงกว้าง[1]

          เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้นว่า PFET ได้รับการปรับเปลี่ยนตามบริบทของประเทศท้องถิ่น และเพื่อรักษาประสิทธิภาพและความถูกต้อง จึงได้จัดทำการวิเคราะห์การจัดกลุ่มในปี 2562 ขึ้น เพื่อทำความเข้าใจว่าปัจจัยสำคัญของ PFET แตกต่างกันไปอย่างไรในแต่ละประเทศ ผลที่ได้จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแต่ละประเทศมีความแตกต่างเฉพาะ ระหว่างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของรายได้ ทรัพย์สิน SoL และสถานะทางเศรษฐกิจโดยรวมของผู้ป่วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ตัวบ่งชี้หลายตัว รวมทั้งปรับแต่งกลุ่มตัวบ่งชี้นั้นให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ เพื่อกำหนดปัจจัยทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

          นอกจากนี้ ดร. Joseph Saba ยังกล่าวระหว่างการนำเสนอในที่ประชุมด้วยว่า “PFET เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ช่วยให้เราสามารถวัดความสามารถในการจ่ายเงินของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยให้เราจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพได้ แม้ในระยะยาว”

          ในปี 2562 PFET ได้รับการปรับให้เข้ากับ 20 LMICs สำหรับยา 57 ชนิดที่ใช้สำหรับโรคเรื้อรัง / มะเร็ง ซึ่งช่วยในการใช้เงินอุดหนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มั่นใจได้ว่าการรักษาจะมีความต่อเนื่อง และเพิ่มการเข้าถึงยาตามใบสั่งแพทย์สำหรับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น

[1] https://www.who.int/bulletin/volumes/85/4/06-033647/en/

About Author