ในปัจจุบัน มีช่องทางออนไลน์ ที่เปิดกว้างให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ หรือผู้วิจัย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อบทความ/เอกสารทางวิชาการที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หนึ่งในนั้น คือ เว็บไซต์ PubPeer (https://pubpeer.com/)  ซึ่งถูกพัฒนาโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (non-profit organization) เมื่อปี ค.ศ. 2012 [1] นำโดย Brandon Stell [3] นักวิทยาศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งได้แรงบัลดาลใจจากการเข้าร่วม Jounal Club สมัยที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นต่อบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่การเข้าถึงข้อมูลและแบ่งปันความคิดเห็นทำได้สะดวกมากขึ้น จึงได้ร่วมกับเพื่อน จัดทำเว็บไซต์ PubPeer เพื่อให้เป็น Journal Club ออนไลน์ที่เปิดในวงกว้าง [2] พบว่ามีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก โดย Brandon Stell ไม่ได้เปิดเผยตัวตนจนกระทั่งในปี 2015 จึงตัดสินใจที่จะเปิดตัวในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้ง เพื่อที่จะขอรับการสนับสนุนเว็บไซต์

     การแสดงความคิดเห็นใน PubPeer นั้น อาจเป็นการแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่ชื่นชมหรือแม้กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์ (Criticizing) ต่อเอกสาร/บทความนั้นๆ ทั้งนี้สามารถค้นหาบทความ/เอกสารจาก Digital Object Identifier (DOI), PubMed ID หรือ arXiv ID (https://arxiv.org/) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดเก็บ เผยแพร่ เอกสารทางวิชาการที่เข้าถึงได้แบบเปิดเผย (Open Access) โดยส่วนใหญ่เป็นเอกสารประเภทที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ Peer Review เช่น pre-print, e-print เป็นต้น [4]

     PubPeer ยังเป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เกิดการตรวจสอบคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย ช่วยส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความตระหนักที่จะดำเนินงานอย่างที่ซื่อสัตย์ เกิดความโปร่งใส ตัวอย่างเช่น เรื่องความสามารถในการทำซ้ำของผลงานวิจัย (Reproducibility) อาจจะเริ่มจากการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่นำข้อมูลเผยแพร่ไปทดลองทำซ้ำแล้วพบว่าไม่สามารถทำซ้ำได้ อย่างไรก็ตามผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการรับความคิดเห็น ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำซ้ำ เช่น วัตถุดิบการวิจัย สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย ช่วยส่งเสริมสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความตระหนักที่จะดำเนินงานอย่างที่ซื่อสัตย์ เกิดความโปร่งใส และถูกต้องตามหลักจริยธรรม

      อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีการแสดงความคิดเห็นต่อบทความตีพิมพ์ในรูปแบบ Post-Publication Peer Review (PPPR) ที่ผู้แสดงความคิดเห็นสามารถเลือกที่จะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยตัวตน (Anonymous) ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบที่ PubPeer เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Publons จะต้องมีการสมัครและให้ข้อมูลตัวตนหากต้องการแสดงความคิดเห็น [5]

เอกสารอ้างอิง

  1. https://scienceintegritydigest.com/2019/07/16/pubpeer-a-website-to-comment-on-scientific-papers/
  2. https://pubpeer.com/
  3. https://www.sciencemag.org/news/2015/08/pubpeer-s-secret-out-founder-controversial-website-reveals-himself
  4. http://www.thailibrary.in.th/2020/12/08/arxiv-1/
  5. https://publons.com/