Line Track Skip to content

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

รายละเอียด:

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

        BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

        กลุ่มสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ:  มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579

        ในส่วนของพลังงาน มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงของเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ได้แก่ การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ก๊าซชีวภาพ ที่นำไปสู่การสร้าง Site Reference ของโรงไฟฟ้าชุมชน (Community-based Biomass Power Plant) ที่มีแหล่งพลังงานทดแทนในพื้นที่ (Distributed Energy Resources, DERs) เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) และก๊าซชีวภาพ ที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าผ่านการเชื่อมต่อระบบด้วย Smart Microgrid และใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เนื่องจากมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน

        ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ด้วยแนวทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท

     ประเทศไทยพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวคิดนี้มากน้อยแค่ไหน, เรามีความเข้าใจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพมากพอหรือยัง และอีกหลากหลายแง่มุมควรรู้

  • ภาพรวมและแนวทางการขับเคลื่อน BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
  • กลไกของ Carbon Pricing & Carbon Credits เป็นอย่างไร
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม Biorefinery จะไปในทิศทางใด ประเทศไทยมีแต้มต่อหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร
  • แนวโน้มของโลกด้าน Clean Energy และโอกาสของประเทศไทย
  • บทบาทของชุมชน ใน Smart Grid และอนาคตของ Energy Trading
  • แนวทางการผลักดันและทางออกปัญหาของ Community Energy 

     เชิญหาคำตอบร่วมกันกับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

การเสวนาช่วงที่ 1

  • ภาพรวมของ BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ – บพข. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

  • Carbon Pricing และ Carbon Credits

โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

  • Biorefinery

โดย คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ประธานกรรมการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.30-15.45น.

การเสวนาช่วงที่ 2

  • C-Energy (Clean & Circular)

โดย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์
ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรองประธานกรรมการ ดูแลงานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด

  • Community Energy

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

  • Smart Grid & Energy Trading Platform

โดย คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และอดีตรองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

15.45-16.00 น.

สรุปปิดการเสวนา กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

เกี่ยวกับวิทยากร:

Tag

รายการสัมนา

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000