20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น
20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
20 year anniversary of Thai-CERN partnership under the initiative of HRH princess Maha Chakri Sirindhorn
สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) ซึ่งเป็นองค์การวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงชั้นนำระดับโลก จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทำโครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ.2543 ในการดำเนินงาน ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาของไทยกับเซิร์น จำนวน 6 ฉบับ ในปี 2561 ได้ยกระดับความสัมพันธ์จากระดับหน่วยงาน-หน่วยงาน ไปเป็นระดับรัฐบาล โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อในขณะนั้น) เป็นผู้ลงนามในนามของรัฐบาลไทยร่วมกับผู้แทนของเซิร์น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประชาคมวิทยาศาสตร์ของโลก
อนึ่ง ในปี 2564 จะเป็นปีที่ฉลองความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริฯ ดำเนินมาครบ 20 ปี มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการพัฒนาบุคลากร และความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านฟิสิกส์
วิดีโอบันทึกการสัมมนา
กำหนดการ
วันที่ 25 มีนาคม 2564
13.15-13.25 น.
13.25-14.10 น.
เสวนาประเทศไทยได้อะไรจากความร่วมมือไทย-เซิร์น ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและเซิร์นตามพระราชดำริฯ
โดย
- รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช
สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ดำเนินรายการ:
ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.10-14.45 น.
เสวนาผู้แทนร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น โดยตัวแทนนักศึกษา ครู และนักเรียน
- นางสาวสรัญญ์ภัทร์ ลิมปิจำนงค์
อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม ผู้ร่วมโครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น
ปัจจุบันเป็นนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี - นายวิชญนันท์ วชิรภูษิตานันท์
อดีตนักศึกษาผู้ร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น
จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ดร.พิมพร ผาพรม
อดีตครูผู้ร่วมโครงการครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น
จากโรงเรียนท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์
ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.45-15.00 น.
15.00-16.00 น.
การเยี่ยมชมเสมือนจริง Compact Muon Solenoid detector (ถ่ายทอดสดจาก CERN)
CMS Virtual Visit
ผู้ดำเนินรายการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://indico.cern.ch/event/987240
เกี่ยวกับวิทยากร:

รองศาสตราจารย์
ดร.คมกฤต เล็กสกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สาคร ริมแจ่ม
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นางสาวสรัญญ์ภัทร์
ลิมปิจำนง

นายวิชญนันท์
วชิรภูษิตานันท์

ดร.พิมพร ผาพรม

ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย