Line Track Skip to content

การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

การเสวนาพลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” และ knowledge Sharing : “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

รายละเอียด:

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceutical”

1) การเสวนา: “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”
2) Knowledge Sharing: “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing”

        เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอางและ/หรือยาไว้ด้วยกัน การใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางคาดหวังการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ หรือเรียกได้ว่าเป็น “Functional cosmetics” ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin ต่างๆ, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืช/สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่า “เวชสำอาง” เป็นคำที่ไม่มีนิยามตามกฎหมาย ไม่ว่าจะจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของเมืองไทย เอเชีย อเมริกา หรือประเทศกลุ่มยุโรป ดังนั้นในการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ทางกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องสำอาง จึงต้องโฆษณาให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ต้องไม่โฆษณาคุณสมบัติมากไปกว่าการเป็นเครื่องสำอาง  ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกำหนดนิยามของคำว่า “เวชสำอางสมุนไพร หรือ Herbal Cosmeceutical” ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านเวชสำอางเพื่อจัดจำหน่าย ที่ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทราบแนวทาง หลักเกณฑ์และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการขี้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

       โดยข้อมูลสำคัญประการหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คือข้อมูลผลการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ที่ทางผู้ประกอบการต้องการใช้เพื่อแสดงผล“Functional claim” ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน วิธีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถทดสอบได้ในระดับ in vitro ซึ่งประกอบด้วยโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ และเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิติ โดยในโมเดลเซลล์ผิวหนัง 2 มิติ จะประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวซึ่งเหมาะในการทดสอบเบื้องต้น หรือการทดสอบในเชิงลึกที่ต้องการดูผลในเซลล์ผิวหนังเพียงชั้นเดียว สำหรับโมเดลเนื้อเยื่อผิวหนัง 3 มิตินั้นจะมีข้อจำกัดในด้าน Physical barrier โดยมีผิวหนังชั้น Stratum corneum ที่บอบบางกว่าผิวหนังจริง, การขาดเซลล์บางชนิดในผิวหนัง, มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้โมเดลนี้ยังคงมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากผิวหนังจริง อีกทั้งยังมีราคาแพง

        โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ (ex-vivo skin model) ได้มาจากการตัดชิ้นส่วนผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาจากผิวหนังส่วนหน้าท้อง (Abdominal skin) และนำมาเลี้ยงภายนอกร่างกาย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดยมีข้อดีคือมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกับผิวหนังจริงมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีเซลล์และโครงสร้างที่พบในผิวหนังจริงหลงเหลืออยู่ มีความแข็งแรง ทำให้โมเดลนี้เหมาะกับการทดสอบเพื่อหาสูตรตำรับที่เหมาะสม ก่อนที่จะทำไปทดสอบในอาสาสมัคร นอกจากนี้โมเดลชิ้นส่วนผิวหนังยังมีราคาถูก สามารถเห็นผลการทดสอบได้ในระยะเวลาอันสั้น, และสามารถใช้ทดสอบหากลไกเชิงลึก มีวิธีการเตรียม Tissue culture ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมสั้นกว่า เมื่อเทียบกับโมเดลเซลล์ผิวหนัง 3 มิติ รวมถึงสามารถตัดชิ้นส่วนของผิวหนังของผู้สูงอายุ หรือคนที่เป็นโรคเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทย
ด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals”

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 1)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products
in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Ex Vivo Human Skin Models & Clinical Testing
(Part 2)

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

โดย ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง สวทช.

09.15-10.00 น.

การเสวนาหัวข้อ “พลิกโฉมอุตสาหกรรมเวชสำอางไทยด้วยนิยามของ “เวชสำอางสมุนไพร : Herbal Cosmeceuticals” 

โดย 1) ภก.วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) ภญ.ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
Super Manager โปรแกรมเวชสำอาง, สวทช.

3) ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด                                      และ บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด

ดำเนินรายการโดย  ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี 
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.00-10.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Breakthroughs in Aging Research That Will Transform the Future of Anti-Aging Products          

โดย ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สวทช.

10.45-12.00 น.

การบรรยายหัวข้อ “Skin Aging Biology”

 

โดย ศ.ดร.ภญ.จารุภา วิโยชน์
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

12.00-13.00 น.

พักกลางวัน

13.00-13.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Anti-Aging Testing of Active Ingredients & Products in Ex Vivo Skin Models”

 

โดย ดร.วันนิตา กลิ่นงาม
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

13.45-14.30 น.

การบรรยายหัวข้อ Efficacy Testing of Cosmeceutical Products Using Ex Vivo skin models” (บรรยายภาษาอังกฤษ)

โดย Dr.Nikita Radionov
Subsidiary and Technical-commercial Actions Manager,  Laboratoire BIO-EC FRANCE

14.30-15.45 น.

การบรรยายหัวข้อ “Efficacy Testing of Anti-Aging Products in Clinical Trials”

โดย รศ.ภญ.ดร.ภญ.มยุรี กัลยาวัฒนกุล 
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง             

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

Tag

รายการสัมนา

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000