มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย
และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย
มาตรฐานและระเบียบสำหรับหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วย
Robots and Smart Bed for Aging care : Standard and Regulations
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ.2564 ภาครัฐได้กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ และได้วางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือ ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมทุนวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อผลักดันการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในประเทศไทย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์โดยคนไทยสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาที่สูงได้ ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบตรวจสอบมาตรฐานประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ประกอบการและนักวิจัยจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการควบคุม แนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ การขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และวิธีการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่สำคัญของเครื่องมือแพทย์
สัมมนานี้จึงจะมุ่งเน้นที่อุปกรณ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้ภาพในองค์รวมอย่างย่อเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย นักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้รับทราบข้อมูลและหลักการการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค จะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็งด้านสวัสดิการการบริการผู้สูงอายุและผู้พิการและสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศได้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่ายเครื่องมือแพทย์
2) เพื่อการเรียนรู้หลักการทดสอบตามมาตรฐานที่สำคัญในการดำเนินการทำมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แนวทางการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย เป็นการส่งเสริมการตลาดของภาครัฐ
4) เพื่อเปิดโอกาสให้คำปรึกษากาผู้ประกอบการที่กำลังจะทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์
กลุ่มเป้าหมายที่ควรเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วย
2) ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการขยายสายการผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท 1 ความเสี่ยงต่ำ
3) นักวิจัยหรือนักพัฒนาที่ต้องการต่อยอดผลงานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสู่พาณิชย์
วิดีโอบันทึกการสัมมนา
เอกสารประกอบการสัมมนา
กำหนดการ
วันที่ 26 มีนาคม 2564
09.00-09.35 น.
ระเบียบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
โดย คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์
วิศวกรชีวการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
09.40-10.20 น.
มาตรฐานสำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
โดย ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
10.25-11.05 น.
มาตรฐานสำหรับเตียงอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ
โดย คุณเรืองฤทธิ์ หนิแหนะ
วิศวกรอาวุโส ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
11.10-11.40 น.
การทดสอบ Software Validation IEC 62304
โดย ดร.พนิตา เมนะเนตร
ผู้จัดการห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
(NECTEC)
เกี่ยวกับวิทยากร:

คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์

ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์

คุณเรืองฤทธิ์ หนิแหนะ
