FAQ – คำถามที่ถามบ่อย

 

1.คำนิยาม

  • บัญชีนวัตกรรมไทย คือ บัญชีของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม ซึ่งมีนวัตกรรมของคนไทยเป็นองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญ มีคุณภาพตรงตามที่ระบุในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริการและพร้อมผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์
  • บัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย ดำเนินการโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ในบัญชียังต้องการการพัฒนาให้พร้อมสำหรับการผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่อาจอยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อมใช้งาน โดย วช. อาจพิจารณาจัดสรรทุนสนับสนุนให้พัฒนาต่อยอดให้พร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยได้ (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ thaiinvention.nrct.go.th)

ไม่จำเป็น เนื่องจาก นวัตกรรมไทย (ตามที่ คพน. กำหนด) นั้น หมายถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ อนึ่งนวัตกรรมไทยในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นในประเทศทั้งหมด อาจซื้อหรือนำเข้าบางส่วนมาจากต่างประเทศก็ได้ ซึ่งผลงานที่ได้รับการขึ้นบัญชีฯ ไปแล้ว บางรายการก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก แต่เป็นการวิจัยพัฒนาโดยเอกชนไทย ซึ่งอาจเป็นการลดการนำเข้า หรือมีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันก็ได้

มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนเช่นดียวกับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย ที่เป็นผลิตภัณฑ์ แต่จะต้องแยกประเด็นในส่วนของความเป็นนวัตกรรมเป็น 2 ส่วน คือ

  1. รูปแบบธุรกิจการให้บริการ (Business model) ที่ต้องมีความใหม่ มีความแตกต่าง จากการให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าหรือผู้รับบริการจะได้คุณค่า (Value) ที่ดีขึ้น เช่น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง เป็นต้น โดยต้องสามารถวัดผลและวิเคราะห์ได้อย่างน่าเชื่อถือทางสถิติ และดำเนินการโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
  2. เครื่องมือ (Tool) ที่นำมาใช้ในการให้บริการ จะต้องเป็นผลมาจากการวิจัยหรือการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญ โดยคนไทย ซึ่งสามารถผลิตและนำมาให้บริการได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย และ มีผลการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยในการนำมาใช้งานให้บริการ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

คือ เอกสาร บันทึก รายงาน หรือ บทความวิชาการ ที่แสดงความเชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย ตัวอย่างเช่น

  • บันทึก หรือ รายงานการพัฒนาผลงานนวัตกรรม
  • บทความตีพิมพ์ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
  • รายงานทางวิชาการ (Technical report)

2.การยื่นขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย

ไม่ได้ เนื่องจาก หน่วยงานที่จะขอขึ้นบัญชีต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องเป็น บริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หากเป็นหน่วยงานรัฐจะต้องมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการผลิตและจำหน่าย จึงจะสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ข้อที่ 2

ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์หรือบริการจำนวนมาก ไม่มีมาตรฐานกำหนด อย่างไรก็ตามแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการจะอยู่ที่การยืนยันผลการทดสอบว่ามีคุณภาพตามที่ระบุในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ จากหน่วยวิเคราะห์ทดสอบที่เชื่อถือได้

ในกรณีการขอเปลี่ยนผู้ประสานงาน/ผู้ติดต่อ ของบริษัท สามารถพิจารณาดำเนินการตามเงื่อนไข ดังนี้

  • กรณีที่บริษัทเพิ่งยื่นผลงานทางอีเมลและอยู่ระหว่างการคัดกรอง ยังไม่มีเลขที่รับเรื่อง หรือ สวทช. ให้เลขที่รับเรื่องแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา บริษัทสามารถแก้ไขชื่อผู้ประสานงาน/ผู้ติดต่อในแบบคำขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยได้และนำส่งให้ สวทช.ทางอีเมล ifs-ins@nstda.or.th เพื่อใช้ดำเนินการพิจารณาต่อไป

  • กรณีที่ผลงานเพิ่งได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนฯ หรืออยู่ระหว่างขั้นตอนสำนักงบประมาณตรวจสอบราคา หรือประกาศขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยแล้ว ให้บริษัทจัดทำแบบคำขอแก้ไขข้อมูล และนำส่งให้ สวทช.ทางอีเมล ifs-ins@nstda.or.th เพื่อดำเนินการแก้ไขรายชื่อผู้ติดต่อในระบบของ สวทช. และสำนักงบประมาณต่อไป

3.หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

สามารถดำเนินการร่วมกับหน่วนงานภาครัฐหรือมหาวิทยาลัยของไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เพื่อกำหนดหัวข้อ ออกแบบแผนการวิเคราะห์ทดทดสอบ และเกณฑ์การยอมรับ โดยเทียบกับคุณลักษณะเฉพาะ ที่ระบุในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งเป็นความเห็นชอบร่วมกันของผู้ขอขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย หน่วยงานวิเคราะห์ทดสอบ และคณะกรรมการ

ใช่ หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. เนื่องจาก ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุว่า “ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนต้องผ่านการรับรองมาตรฐานบังคับ ของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ (ถ้ามี)” หมายถึง ต้องสามารถผลิตและจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

    ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดย พิจารณาจาก

  1. หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการสุ่มตรวจและชักตัวอย่างกำหนดไว้ เช่น มอก. ก็อ้างอิงจากที่ มอก. กำหนดไว้ (อาจเป็นการเลือกรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่เพื่อตัวแทนที่สามารถอ้างอิงรุ่นกลางได้ เป็นต้น)
  2. หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ในแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต้องวิเคราะห์ทดสอบครบทุกรุ่น เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน

4.การชำระค่าธรรมเนียม

ภายหลังจากที่ส่งแบบคำขอขึ้นทะเบียนฯ/ขอแก้ไข เอกสารประกอบผ่านช่องทาง ifs-ins@nstda.or.th
เมื่อพิจารณาความครบถ้วน และเพียงพอของเอกสารเพื่อเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการ
สวทช.จะแจ้งรายละเอียดช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ประกอบการผ่านช่องทาง ifs-ins@nstda.or.th ทั้งนี้การยื่นขอรับบริการจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการชำระค่าธรรมเนียมแล้วเท่านั้น

โอนเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รายละเอียดตามที่แจ้งผ่านช่องทาง ifs-ins@nstda.or.th

5.ภายหลังที่ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย

1.การตรวจสอบกระทบสาระสำคัญ เช่น
แก้ไข เพิ่มรุ่นผลิตภัณฑ์
แก้ไข หน่วยงานผู้ผลิต
แก้ไข ชื่อผลิตภัณฑ์ของผลงานนวัตกรรมที่จะปรากฏในบัญชีนวัตกรรมไทย
แก้ไข ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และ ราคาสุทธิต่อหน่วย ของผลงานนวัตกรรมที่จะปรากฏในบัญชีนวัตกรรมไทย
แก้ไข รายละเอียดคุณลักษณะของผลงานนวัตกรรมที่จะปรากฏในบัญชีนวัตกรรมไทย
แก้ไข มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลงานนวัตกรรมที่ขอขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย
แก้ไข เอกสารโฆษณา เอกสารกำกับสินค้าของผลงานนวัตกรรม
เป็นต้น

2.การตรวจสอบไม่กระทบสาระสำคัญ เช่น
แก้ไข  ขอเพิ่ม/ลด ผู้แทนจำหน่าย
แก้ไข คำผิดผลิตภัณฑ์ของผลงานนวัตกรรมที่จะปรากฏในบัญชีนวัตกรรมไทย
แก้ไข ยกเลิกรุ่นผลิตภัณฑ์
เป็นต้น

คำถามเพิ่มเติม