กิจกรรม “การอบรมครู จัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา”
ภายใต้ โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)
เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย

     สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินกิจกรรม “การอบรมครู จัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา” ภายใต้ โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูในรูปแบบ Train the trainer จากสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้และความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ Fabrication Lab บูรณาการความรู้ร่วมกันของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรม ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) ให้แก่นักเรียนของตนเองได้ โดยสถานศึกษายังไม่จำเป็นต้องมีการลงทุน Fabrication Lab ในช่วงต้น ซึ่งสถานศึกษาอาจลงทุนเองในภายหลัง หรือมาใช้ Fabrication Lab ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. ได้

     ทั้ง นี้ สวทช. ได้เชิญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินกิจกรรม “การอบรมครู จัดการโครงงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อการศึกษา” โดย สสวท. และ สพฐ. จะพิจารณาคัดเลือกครูแกนนำที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาคอมพิวเตอร์ วิชาออกแบบและเทคโนโลยี จำนวน 300 คน และครู-นักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนแกนนำจำนวน 100 คน รวมเป็น 400 คน จากโรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนี้ สวทช. จะเชิญกลุ่มครูจากโรงเรียนภาคเอกชน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 500 คน

     กิจกรรม ครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกแบบ “กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ Fabrication Lab บูรณาการความรู้ร่วมกันของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรม ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)” ซึ่งสำนักงานประสานงานฯ จะรวบรวมเผยแพร่ให้แก่ครูจากโรงเรียนทั่วไปได้นำไปประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการ เรียนรู้ให้แก่นักเรียนต่อไป

    กิจกรรมนี้ แบ่งการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 : วันเสาร์ที่ 15 – วันอังคารที่ 18 กันยายน 2561 ครูระดับมัธยม และอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน
รุ่นที่ 2 : วันพฤหัสบดีที่ 6 – วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 ครูระดับมัธยม และอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน
รุ่นที่ 3 : วันศุกร์ที่ 25 – วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562 ครูและนักเรียนประถม จำนวน 100 คน (25 โรงเรียน)

     หน่วยงานผู้ดำเนินงาน
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
– สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)
– สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

   วัตถุประสงค์  
     เพื่อให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และครูจากโรงเรียนภาครัฐและเอกชนที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์/คณิตศาสตร์/วิทยา ศาสตร์ ได้มีความรู้และความสามารถในการใช้ประโยชน์ Fabrication Lab ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้
เพื่อให้ครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์/คณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์สามารถออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ใช้ Fabrication Lab ให้แก่นักเรียน ที่จะบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมหลายด้าน รวมถึง STEM ในภาพกว้าง เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง Bioeconomy และ Digital Economy อาทิ กิจกรรม Programming (Coding) การสร้างหุ่นยนต์ กิจกรรมการสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานทางเทคโนโลยี กิจกรรมพัฒนา Smart Farmers กิจกรรม Digital Fabrication ฯลฯ
เพื่อให้มีตัวอย่างกิจกรรมการใช้ Fabrication Lab ที่บูรณาการความรู้ร่วมกันของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรม ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) แล้วเผยแพร่เป็นแนวคิดให้แก่ครูทั่วไปได้นำไปประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียน รู้ให้แก่นักเรียนต่อไป

    เป้าหมายและจำนวน

     ระยะเวลา กำหนดการ และสถานที่จัดอบรม
     การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมค่ายพักแรม ระยะเวลาทั้งสิ้น 4 วัน 3 คืน แบ่งเป็น 3 รุ่น ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ จ.ปทุมธานี ดังนี้

     รูปแบบกิจกรรม
     การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมค่ายพักแรม ระยะเวลาทั้งสิ้น 4 วัน 3 คืน จะแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมออกเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 100 – 200 คน โดยมีคณะวิทยากรให้คำปรึกษาเป็นพี่เลี้ยงกิจกรรม และดำเนินกิจกรรม การทำโครงงาน การแข่งขันเก็บคะแนนต่าง ๆ ตามที่ออกแบบไว้ รายละเอียดกิจกรรมในค่าย
กิจกรรม การใช้กิจกรรมที่หลากหลายในการพัฒนาบูรณาการความรู้หลายศาสตร์ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นเนื้อหาสาระทางด้านการสร้างสรรค์ยุคใหม่ ที่เกี่ยวกับการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างเขียนแผนเรื่องราวการทำโครงงาน การประดิษฐ์ชิ้นงาน โดยประสานการใช้งานเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ตลอดจนนำเสนอด้วยความท้าทาย และความสนุกสนาน มีแต้มคะแนน โดยมีพี่เลี้ยงแต่ละกลุ่มคอยให้คำแนะนำ ดูแลและแก้ไขปัญหาให้แก่สมาชิก
     เนื้อหาของกิจกรรม ประกอบด้วย
• หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสะเต็ม หลักการนวัตกรรมและการสร้างสรรค์
• หลักการใช้เครื่องมือ ใน Fabrication Lab การสร้างห้องแลป
• การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ การวางแผนโครงงานฯ การออกแบบกิจกรรมโครงงานฯ
• แนวคิดกระบวนการออกแบบโครงงานสะเต็ม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี กับงานวิศวกรรม
• การสร้างโครงงานวิศวกรรม การนำเสนอกิจกรรม และ การวิพากษ์
• หลักการออกแบบกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงงานสำหรับนักเรียนที่สนุก และนวัตกรรม สร้างสรรค์จากชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ การทำกิจกรรมโครงงาน จากไมโครคอนโทรเลอร์
• การทำกิจกรรมโครงงานสะเต็ม ที่เกี่ยวโยงกับการใช้เครื่องมือในแลป การใช้ 3D printer ออกแบบชิ้นงาน
• พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน
• การออกแบบกิจกรรมสะเต็มเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน
• การออกแบบโครงงานวิศวกรรม การนำเสนอโครงงาน
• การประเมินผลการอบรม

      ผู้ประสานงาน

ชื่อ-นามสกุล:       นางเยาวลักษณ์ คนคล่อง / นางสาวนวพรรษ คำไส
หน่วยงาน:           สำนักงานกลาง สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                         สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์:            0 2564 7000 ต่อ 81813 (เยาวลักษณ์), 81819 (นวพรรษ)
โทรศัพท์เคลื่อนที่: 089 452 4244 (เยาวลักษณ์)
Email:                yaowalak@nstda.or.thnawaphat.khamsai@nstda.or.th

หรือที่ facebook page ของโครงการ FabLabThailand

Post Views: 177