สวทช. จัดเสวนา “ถอดบทเรียนการสร้างสมรรถนะนักเรียนสู่อนาคต ด้วย Fabrication Lab”

     สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ จัดเสวนาเรื่อง “ถอดบทเรียนการสร้างสมรรถนะนักเรียนสู่อนาคต ด้วย Fabrication Lab” ในวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom มีครูจากสถานศึกษาในโครงการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คน

               

     งานเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน

ในกิจกรรมการเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ในหัวข้อดังนี้
การเสวนาช่วงที่ 1: แนวทางการบูรณาการ FabLab กับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาครูให้เสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียน โดย
1. อาจารย์สานิต โลบภูเขียว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53
2. อาจารย์ฉันชัย จันทะเสน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
3. อาจารย์มานะ อินทรสว่าง โรงเรียนศึกษานารี
4. อาจารย์เสาวรจนี จันทวงค์ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
5. อาจารย์พิชิต คำบุรี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน



การเสวนาช่วงที่ 2: การส่งเสริมโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม โดยเชื่อมโยงกับชุมชน โดย
1. อาจารย์มลชยา หวานชะเอม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
2. อาจารย์ทวีป นวคุณานนท์ โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
3. อาจารย์วินัย จบเจนไพร วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
4. อาจารย์ธมลพรรณ กรุณานำ โรงเรียนชิตใจชื่น

และผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมการระดมความคิด และข้อเสนอแนะการพัฒนา FabLab สู่ความยั่งยืน ผ่านหัวข้อคำถาม “การสนับสนุนใดที่ต้องการ เพื่อพัฒนา FabLab สู่ความยั่งยืน และ ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนา FabLab สู่ความยั่งยืน”

📝 สรุปความคิดเห็นดีๆ จากตัวแทนคุณครูในโครงการโรงประลองวิศวกรรม ในงานเสวนา

  • ความยั่งยืนของ FabLab ไม่ควรเริ่มมองจาก Infrastructure แต่มองจากเริ่มหลักสูตรที่ไปฝังอยู่ในโรงเรียนว่า เราจะพัฒนาหลักสูตรดีๆ ในโรงเรียนอะไรบ้าง แล้วค่อยมองว่า FabLab เป็นเครื่องมือในการช่วยในหลักสูตรดังกล่าวได้อย่างไร
  • หลักสูตรที่เหมาะกับ FabLab มากที่สุดน่าจะเป็น วิชาที่ส่งเสริมการทำโครงงานและสิ่งประดิษฐ์ เพราะ FabLab เป็นสิ่งที่ช่วยแปลงความคิดของเด็กๆ เป็นรูปธรรมได้ โดยใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ใน FabLab รองลงมาคือ วิชาเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาเพราะมีส่วนของวิศวกรรมที่สร้างชิ้นงานได้ และวิชาวิทยาการคำนวณ
  • ปัจจุบัน มีเวทีการประกวดและการสนับสนุนอยู่พอสมควร น่าจะมีการรวบรวมเป็นฐานข้อมูลและแจ้งให้ครูทราบ จะได้เห็นเป้าหมายของการทำชิ้นงาน เช่น สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ งานนวัตกรรมซอฟต์แวร์และระบบสมองกลฝังตัว สิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ ผลิตภัณฑ์อาหารไทย พลังงานทดแทน การเกษตร
  • การเชื่อมโยงทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21, สมรรถนะสำคัญในอนาคตของเด็ก, การมองภาพรวมของ Hand-Head-Heart ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จะทำให้หลักสูตรและกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • การนำ FabLab ไปใช้ในโรงเรียน ครูอาจมีกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการใช้งานได้ในวงกว้างมากขึ้น เช่น การบูรณาการข้ามวิชา โดยครูสองวิชามาคุยกันและวัดผลงานร่วมกัน การจัดนิทรรศการเปิดตัวให้เห็นว่า FabLab เป็นสถานที่ที่ใครก็เข้ามาใช้งานได้ การเปิดสถานที่เป็น Maker Club
  • FabLab เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนได้ สิ่งประดิษฐ์หลายชิ้นงานเริ่มจากการมองปัญหาในชุมชน นอกจากนี้โรงเรียนที่อยู่ในโครงการที่มีความเข้มแข็งยังสามารถเป็นพี่เลี้ยงจัดอบรมและกิจกรรมให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนใกล้เคียงได้ ปัจจุบันมีหลายโรงเรียนที่ได้ทำพันธกิจนี้แล้ว

***********************************************************

📸 รูปภาพกิจกรรม เพิ่มเติม คลิก

🎥 รับชมกิจกรรมเสวนาย้อนหลัง ได้ที่

การเสวนาช่วงที่ 1: แนวทางการบูรณาการ FabLab กับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาครูให้เสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียน คลิก

การเสวนาช่วงที่ 2: การส่งเสริมโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม โดยเชื่อมโยงกับชุมชน คลิก

Post Views: 193