magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "the National Science Foundation"
formats

พิษแมงป่องอาจสามารถนำไปช่วยการผ่าตัดมะเร็ง

สารที่สกัดจากพิษในแมงป่องอาจสามารถช่วยแพทย์ แยกแยะระหว่างเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์กับเนื้อเยื่อมะเร็ง เมื่อหลายปีก่อน Jim Olson กุมารแพทย์ด้าน เนื้องอกในระบบประสาท ณ โรงพยาบาลเด็กเมือง Seattle ได้พิจารณาผลการรักษาร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ในกรณีของ เด็กผู้หญิงอายุ 17 ปี ซึ่งได้เข้ารับการผ่าตัดสมองเพื่อเอาเนื้องอกออก ผลจากการแสกน MRI แสดงให้เห็นเนื้องอกขนาดนิ้วโป้งที่แพทย์ไม่ได้ผ่าตัดออก เพราะเมื่อตอนยังอยู่ในห้องผ่าตัด เนื้องอกแลดูเหมือนเซลล์สมองที่สมบูรณ์ ภายหลังการประชุมหลังการผ่าตัด ทางทีมแพทย์สรุปว่า การสรรหาวิธีที่ทำให้สามารถตรวจพบเนื้องอกภายในห้องผ่าตัดมีความสำคัญมาก ซึ่ง Olsen และทีมแพทย์ได้รับมอบหมายให้เริ่มทำการวิจัยทันที   กลุ่มวิจัยได้เจอรายงานฉบับหนึ่งที่สรุปได้ว่า พิษแมงป่องจะเกาะกับเนื้องอกในสมอง โดยที่ไม่ทำปฏิกิริยากับเซลล์ที่สมบูรณ์  โดยถ้าสามารถทำโปรตีนสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติเหมือนพิษแมงป่อง แล้วนำมาติดเข้ากับโมเลกุล ที่สามารถเปล่งแสงได้ จะทำให้สามารถเห็นเนื้องอกได้เมื่ออยู่ภายในห้องผ่าตัด ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “tumor paint” อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนเมษายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2556 จาก

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การผลักดันการผลิตขั้นสูงของประธานาธิบดีโอบามาก่อให้เกิดข้อโต้แย้งทางเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีโอบามา ได้ปราศรัยถึงแผนดำเนินการและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เมือง Charlotte รัฐ North Carolina โดยจะมุ่งเน้นที่การผลักดันการผลิตขั้นสูงต่อไป เพราะในช่วงสองปีครึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถสร้างงานด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นได้มากกว่าห้าแสนงาน และประธานาธิบดีโอบามามีความเชื่อว่า ถ้ายังได้รับการผลักดันอย่างจริงจังจากรัฐบาลต่อไป จะสามารถสร้างงานเพิ่มได้อีกถึงหนึ่งล้านงานในอีกสี่ปีข้างหน้า แนวคิดภายใต้แผนดำเนินงานนี้ก็คือ การผลักดันให้สหรัฐฯ สามารถผลิตสินค้าและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อไปเสริมสร้าง ศักยภาพในแข่งขันกับต่างประเทศ และยังส่งเสริมให้สหรัฐฯกลับมาเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการผลิตอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่นโยบายทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างจริงจัง หลังจากถูกมองข้ามและหายไปจากนโยบายของประเทศตั้งแต่สมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ซึ่งมีรายละเอียดหลักเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศผ่านนโยบายต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การลงทุนในงานวิจัยใหม่ๆ และการฝึกอบรมแรงงานในเทคโนโลยีชั้นสูงกว่าสองล้านคน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนเมษายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สองชาติ ร่วมใจ ไทย-สหรัฐฯ ครบรอบ 180 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา

ในปีนี้ เป็นปีครบรอบ 180 ปีความสัมพันธ์ไทย – สหรัฐฯ ซึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน่ปี พ.ศ. 2376 โดยความ สัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ นำไปสู่การพัฒนาทั้งด้านการค้า การปกครอง การศึกษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประสบปัญหา รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน ฉบับนี้จึงขอนำเสนอสรุปลำดับความสัมพันธ์ของสองประเทศ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ยาวนานและยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในมิตรภาพ ระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐฯ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนเมษายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/   – ( 161 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประวัติความเป็นมาของ Cherry Blossom ต้นซากุระ ณ ใจกลาง เมืองหลวงของสหรัฐฯ

แนวความคิดในการทำเอาต้น Cherry Blossom หรือที่คนไทย รู้จักกันว่าต้นซากุระ มาปลูกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2428 โดยหลังจากที่ Mrs. Eliza Ruhamah (นักเขียน นักถ่ายภาพ และนักภูมิศาสตร์ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหญิงคนแรกของ National Geographic Society) ได้กลับมาจากการเยือนประเทศญี่ปุ่น  เธอได้เสนอให้สำนักงานอาคารสถานที่ของรัฐ (The Office of Public Buildings and Grounds) นำเอาต้น Cherry Blossom มาปลูกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ข้อเสนอของเธอก็ไม่ได้รับการสนับสนุน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนเมษายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ขณะที่น้ำมันมีราคาที่สูงขึ้น การพิจารณาในการลงทุนเพื่อพลังงานจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้ แหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติหาได้ยากมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการมีมากขึ้นทุกวัน หลายๆ บริษัทหันไป ใช้พลังงานทางเลือกซึ่งบางครั้งก็หาได้ยากและมีราคาที่แพงกว่า เช่น เราผลิตทรายน้ำมัน (Tar sand) ได้มากขึ้น 3 เท่าตัวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันสามารถผลิตได้ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน   อย่างที่ได้กล่าวมา พลังงานทางเลือกกำลังเป็นที่ต้องการ แต่พลังงานทางเลือกใดที่คุ้มค่าที่สุดที่จะเอามาใช้? เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา Charles A. S. Hall นักนิเวศวิทยาจาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและป่าไม้ของ The State University of New York ได้ทำเกณฑ์การวัดที่มีชื่อว่า Energy Return on Investment (EROI) หรือพลังงานที่ได้รับจาก การลงทุน ซึ่งจะแสดงปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการใช้เชื้อเพลิง แต่ละชนิด ยิ่งมีค่า EROI  สูง เชื้อเพลิงนั้นยิ่งมีโอกาสนำมา ใช้ได้จริง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาประกาศแผนการขั้นต่อไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพครูเป็นจำนวน100,000 คน เพื่อให้มีความเป็นเลิศในการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศขั้นตอนต่อไปของรัฐบาลภายใต้ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความชำนาญของครูทางด้าน STEM จำนวน 100,000 คน ซึ่งล่าสุด Howard Hughes Medical Institute (HHMI) ได้ให้การสนับสนุนผ่านการลงทุนครั้งใหญ่ประมาณ 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นประมาณสองเท่าของการลงทุนจากภาคเอกชนทั้งหมด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11611-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนเมษายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเปลี่ยนโฉมหน้าของการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรอเมริกัน

การปฏิรูปกฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐฯ ครั้งสำคัญได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผลที่ตามมาคือ ระบบสิทธิบัตรสหรัฐฯ จะสอดคล้องกับการดำเนินการของหน่วยงานสิทธิบัตรทั่วโลก  และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหม่กับนักประดิษฐ์สหรัฐฯ  โดยเมื่อวันที่ 16 มีนาคมนี้ สหรัฐฯ ได้ยกเลิกระบบการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่ซับซ้อนและใช้เวลานานและปรับปรุงให้การยื่นขอมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้ขยายขอบเขตของข้อมูลที่ใช้ในการชี้ว่าสิ่งประดิษฐ์ใดสมควรได้รับสิทธิบัตร และมีการให้คำจำกัดความใหม่ต่อระยะผ่อนปรนที่กำหนดสำหรับนักประดิษฐ (grace period) ในการยื่นขอสิทธิบัตรใหม่ – ( 124 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ เตรียมรับมือกับการตัดงบประมาณ

ในวันที่ 1 มีนาคม 2556 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของสหรัฐฯ เช่น The US National Institutes of Health (NIH) และ the National Science Foundation (NSF) ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ Virginia จะถูกตัดลดงบประมาณถึงร้อยละ 5.1 ของค่าใช้จ่ายในปีนี้ เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการตัดงบประมาณโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า “Sequestration” แม้ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ จะพยายามต่อรองจนถึงที่สุดเพื่อยืดเวลาหรือยกเว้นการตัดงบประมาณในบางส่วน หน่วยงานวิจัยต่างก็ระแวดระวังในการให้เงินสนับสนุนการวิจัยต่างๆ เพราะเกรงว่าหน่วยงานอาจจะไม่มีงบประมาณพอที่จะทำได้จริงในอนาคต และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็เริ่มรู้สึกถึงความขาดแคลนที่กำลังจะมาถึง Howard Garrison รองผู้บริหารฝ่ายนโยบายของ Federation of American Societies กล่าวว่า “หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างใช้เกณฑ์การพิจารณาการให้เงินสนับสนุนด้วย วิธีแบบที่เคยทำกันมาเพราะไม่มีใครต้องการใช้จ่ายเกินตัว” หน่วยงานแต่ละแห่งมีสัดส่วนในการตัดลดงบ ประมาณที่แตกต่างกัน เช่น NIH จะตัดลดงบประมาณ 1.57 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ และ NSF จะตัดลดงบประมาณ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments