magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Posts tagged "predatory publishers"
formats

ควรลงพิมพ์ หรือเป็นบรรณาธิการ ในวารสารที่เป็น Open Access หรือไม่

จากการประชุมวิชาการประจำปีของฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ประจำปี 2556 ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน นั้น รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ วิทยากรท่านหนึ่ง ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อเรื่อง ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access (สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถติดตามได้ที่ http://stks.or.th/th/knowledge-bank/28-library-science/4134-predatory-publishers.html) ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง Should I publish in, or be an editor for, an Open Access (OA) journal?: a brief guide (http://scitech.sla.org/pr-committee/oaguide/) มาให้เพิ่มเติมค่ะ เลยขอส่งต่อให้แฟนพันธุ์แท้ของ STKS และผู้ที่เข้าร่วมงานอ่านกันนะคะ ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านบทสรุปการบรรยายหัวข้อต่างๆ ของการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556  ได้ที่ http://stks.or.th/blog และติดตามสื่อนำสนอ (ที่ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่) ได้ที่ http://stks.or.th/th/news/3686-annual-conference-2013.html– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สำนักพิมพ์ผู้ล่าเหยื่อ (Predatory publishers)

ชุมชนวิจัยไทย คงจะรู้จักรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ และ รายชื่อวารสารของ Beall เป็นอย่างดี (Beall’s List) ซึ่งใน ขณะนี้ประชาคมวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องข้างต้นเป็นอย่างมาก จากข้อมูลชุด Beall’s List of  scholarly open-access publisherss ที่เป็นรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ รายชื่อวารสาร ที่เข้าข่ายน่าสงสัย มีพิรุธ เป็นลักษณะจอมปลอม   หลอกลวง บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall  (Metadata Librarian) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ predatory publishers ในปี 2008 ซึ่งจากเดิมที่สนใจ ติดตาม เรียนรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์งานวิจัยแบบเปิด   (scholarly open-access publishing)  มาก่อนหน้านี้ จากนั้นได้เริ่มเขียนบล็อก เพื่อแบ่งปันชุมชนวิจัยให้รับทราบและระมัดระวัง  บล็อกของเขาได้รับความสนใจอย่างยิ่งมีเสียงเชียร์ดังก้องจากประชาคมวิจัยทั่วโลก โดยมีการเผยแพร่รายการชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัยมีพิรุธ  (ประมาณ 200 ชื่อสำนักพิมพ์และ 38 ชื่อวารสาร) ที่ http://scholarlyoa.com/publishers/

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิชาการ ควรรู้อะไรก่อนที่จะเสนอบทความตีพิมพ์

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้จัดการบรรยายวิชาการเรื่อง ” What should you know before research publication submission ? ” วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับจริยธรรมกับงานวิจัย  โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ  ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540  นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 ) และ นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต  (ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ)  ณ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาคือประเด็นในเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการวิชาการทั่วโลก  ชุมชนวิชาการไทย ควรรับรู้ ติดตามให้เท่าทัน (เกมส์)  ของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการ  เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอสรุปเนื้อหาการบรรยาย

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments