magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home scholarly journal นักวิชาการ ควรรู้อะไรก่อนที่จะเสนอบทความตีพิมพ์
formats

นักวิชาการ ควรรู้อะไรก่อนที่จะเสนอบทความตีพิมพ์

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ได้จัดการบรรยายวิชาการเรื่อง ” What should you know before research publication submission ? ” วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับจริยธรรมกับงานวิจัย  โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ  ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540  นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 )
และ นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต  (ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ)  ณ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหาคือประเด็นในเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการวิชาการทั่วโลก  ชุมชนวิชาการไทย ควรรับรู้ ติดตามให้เท่าทัน (เกมส์)  ของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการ  เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอสรุปเนื้อหาการบรรยาย ดังนี้

ปัจจุบันในวงการวิชาการทั่วโลก เกิดปรากฏการณ์ Phantom Academia คือวิชาการจอมปลอม ที่เสมือนว่ามีความเป็นวิชาการ แต่ความเป็นจริง กลับเป็นผี  ใครกันแน่ที่เป็นเหยื่อ สำนักพิมพ์ หรือ ผู้แต่งบทความ หรือยอมเป็นเหยื่อกันเอง ขณะนี้เกิดวิชาการจอมปลอมในหลายรูปแบบ เช่น  Phantom degree, Phantom book chapter, Phantom journal, Phantom editor, Phantom research, Phantom conference อย่างกว้างขวางและเปิดเผยทั่วโลก ดังนั้น นักวิชาการไทย นักวิจัยไทย ก่อนจะตัดสินใจเสนอบทความวิจัยตนเองลงตีพิมพ์ในวารสารชื่อหนึ่งๆ ควรใช้ดุลยพินิจให้มาก รอบคอบ และเท่าทัน
ผู้บรรยายได้เล่าประสบการณ์ คือ ได้รับอีเมลทุกวัน เชิญชวนให้เป็นกองบรรณาธิการวารสารชื่อใหม่ต่างๆ เชิญชวนให้เสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ เชิญชวนให้เข้าประชุมวิชาการ  เมื่อดูรายละเอียดที่ตั้งสำนักพิมพ์ พบอยู่ที่ หมู่เกาะ Seachelles ปากีสถาน อินเดีย เป็นต้น มีการเลียนแบบชื่อวารสารเดิม เช่น จาก Gene เป็น Genes / Cell เป็น Cells / Cancer เป็น Cancers เป็นต้น

จึงเกิด Beall’s List of  Predatory  Publishers ที่  http://scholarlyoa.com/publishers/  ซึ่งแสดงรายการชื่อสำนักพิมพ์ที่มีพิรุธ น่าสงสัย จำนวนประมาณ 250 สำนักพิมพ์ เช่น
สำนักพิมพ์ Academic Journals (Nigeria)
สำนักพิมพ์ Academic Journals, Inc. (Pakistan)
สำนักพิมพ์  ANSINetwork (Pakistan)
สำนักพิมพ์ Dove Press ( New Zealand)
สำนักพิมพ์ ScienceHuB (USA.)  เป็นต้น
สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นี้ คือโมเดลการตีพิมพ์บทความวิชาการแบบเสรี (Gold Open Access) รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยให้การตีพิมพ์ (Publishing) เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น ง่าย สะดวก กว่าในอดีตเป็นอย่างมาก (ใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะช่วยการตีพิมพ์ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถพิมพ์บทความขึ้นมาได้อย่างอัตโนมัติ เพียงแค่ใส่ชื่อผู้แต่งเท่านั้น)

นอกจากนี้ ผู้บรรยายได้กล่าวถึง การประเมินคุณภาพทางวิชาการ (quality assessment) ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ เป็นการแข่งขัน  เป็นเกณฑ์มาตรฐาน  เป็นการคัดเลือก อะไรคือ คุณภาพ เป็นอัตวิสัยของแต่ละบุคคล (subjective) เนื่องจากการนิยามของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน การตรวจสอบบทความวิจัยด้วยการ Peer review เป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็น แต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ใช้เวลามาก ซึ่งการอ้างอิงพอจะบอกได้ส่วนหนึ่ง และขณะนี้ก็เริ่มเกิด Citation manipulation / Citation cartel (เป็นการฮั้ว ตกลงกันไว้ก่อนในการอ้างอิงวารสารชื่อหนึ่งๆ เพื่อให้ค่า IF ของวารสารนั้นเพิ่มขึ้น )
ค่า Journal Impact Factor, JIF ของวารสาร บอกคุณภาพได้ครึ่งหนึ่ง มีแหล่งข้อมูลแสดงคุณภาพวารสารอีกแห่งหนึ่งคือ SCImago Journal Rank รวมถึงมีค่าวัดคุณภาพวารสารค่าใหม่ๆ เช่น H-index , Eigenfactor– ( 350 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ six = 11

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>