magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by supaporn (Page 11)
formats

5 ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคตที่ต้องจับตามองในปี 2013

IEEE Computer Society ได้พูดถึงเทคโนโลยีที่ควรจับตามองในปี 2013 ไว้ดังนี้ 1. Internet of Things (IoT) จะมีการใช้งานที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น 2. การใช้ภาพและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของ Big Data 3. เทคโนโลยี Cloud computing (Hybrid clouds และ personal clouds) 4. การควบคุมตรวจสอบอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มมากขึ้น 5. การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการในการเพิ่มพลังให้กับคอมพิวเตอร์ที่มีหลายหน่วยประมวลผล (multicore computing) ติดตามอ่านรายละเอียด– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปี 2555

ขอสรุปข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประจำปี 2555 ที่ส่งผลกระทบอย่่างรุนแรง ท่านสามารถติตตามเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทางเว็บไซต์ http://technology.in.th/disaster ซึ่งจะประมวลเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในรอบปีที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง หรือส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย มิถุนายน สถาบันศึกษามหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) รายงานว่า สหรัฐฯกำลังเผชิญกับภัยแล้งกินบริเวณกว้างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1956 พื้นที่ร้อยละ 55 ของ 48 รัฐ โดยเฉพาะในแถบมิดเวสต์ประสบภัยแล้งรุนแรง อันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ พืชประเภทข้าวโพดและถั่วเหลืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก และเกิดไฟไหม้ป่าในหลายรัฐ   โดยได้ขยายตัวไปในภาคตะวันตก เขตมิดเวสต์ และที่ราบทุ่งหญ้า เมื่อประเมินจากข้อมูลภาวะแห้งแล้งจากระดับอุณหภูมิและปริมาณฝนตก จึงนับว่าเป็นภัยแล้งขยายวงกว้างที่สุดในรอบ 56 ปี (ภาพจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342511304&grpid=03&catid=03) – ( 5158 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลายเครียด

วิธีการคลายเครียดที่  แพรว ปีที่ 34 ฉบับที่ 800 เดือนธันวาคม แนะนำโดย ไซเบอร์เกิร์ล นั้น น่าสนใจมากๆ ค่ะ อ่านแล้ว ทำได้ทุกวิธี ขุดดิน ผลการวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์พบว่า การขุดดิน พรวนดิน เป็นเวลา 30 นาที ช่วยลดความเครียดได้ดีกว่าการนั่งอ่านหนังสือในห้องที่เงียบสงบในระยะเวลาเท่ากัน บริจาคเงินเืพื่อการกุศล ผลการวิจัย พบว่า ผู้ที่บริจาคเงินแค่ 5 ดอลล่าร์ รู้สึกยินดีมีความสุข มีคุณค่า มากกว่าผู้ที่ซื้อเสื้อหาหรือกางเกงให้ตัวเองเสียอีก ยิ้ม การยิ้มเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีอารมณ์แจ่มใส ไม่เครียด กอดตัวเอง ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส พบว่า เมื่อรู้สึกแย่ สมองจะส่งสัญญาณไปทำให้ความดันโลหิต ระดับอะดรีนาลิน และฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้น การโอบมือไปรอบตัวแล้วกอดแน่นๆ ช่วยให้ร่ายกายหลั่งสารออกซิโทซิน และสารตามธรรมชาติอื่นๆ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจขึ้น มืออุ่นๆ สังเกตว่า เวลาตื่นเต้น หรือกลัวอะไร จะรู้สึกมือไม้เย็น เพราะประสาทซึ่งเชื่อมต่อกับระบบการไหลเวีียนโลหิตของกล้ามเนื้อต่างๆ ส่งสัญญาณว่า ร่างกายกำลังเผชิญกับอันตราย แต่เื่มื่อทำให้มืออุ่นขึ้น

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซอร์แพทริก มัวร์ แห่งเดอะสกายแอดไนท์ บีบีซี เสียชีวิตด้วยวัย 89 ปี

เซอร์แพทริก มัวร์ หรือ เซอร์แพทริก อัลเฟรด คาล์ดเวลล์-มัวร์ ผู้ดำเนินรายกรเดอะสกายแอดไนท์ (The Sky at Night) ทางสถานีบีบีซี ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 89 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม ในบ้านที่เซลชีย์ อังกฤษ ท่ามกลางเพื่อนสนิท ผู้ดูแล และแมวของเขาที่ชื่อ Ptolemy http://www.astronomy.com/en/News-Observing/News/2012/12/Patrick%20Moore%20obit.aspx ด้วยความที่มัวร์สนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่เด็ก และเขียนหนังสือหนังสือเกี่ยวกับดวงจันทร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 เมื่อสถานีบีบีซีได้เริ่มรายการดาราศาสตร์จึงได้เชิญมัวร์เป็นผู้ดำเนินรายการ รายการเดอะสกายแอดไนท์จึงมี มัวร์ เป็นผู้ดำเนินรายการตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมากกว่า 700 ตอน และเขียนหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ด้วย ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Caldwell Catalog ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในปี ค.ศ. 1995 มัวร์เป็นคนถ่อมตน แม้จะมีผู้กล่าวว่า ผลงานของมัวร์ สร้างแรงบันดาลใจหรือมีอิทธิพลให้กับคนสนใจดาราศาสตร์ ก็ตาม พีธีไว้อาลัยต่อมัวร์คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2013 ซึ่งเป็นปีที่มัวร์มีอายุ 90 ปี บรรณานุกรม:

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เรตติ้งภาพยนตร์

ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้จัดประเภทหรือเรตติ้งของภาพยนตร์ ดังนี้ – ( 1490 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คลังสิ่งพิมพ์ของชาติ

ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดว่า สำนักพิมพ์หรือผู้พิมพ์ สิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จำนวน ๒ ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเผยแพร่ เพื่อนำไปให้บริการค้นคว้าในหอสมุดแห่งชาติ ๑ ฉบับ และอีกฉบับเก็บเข้าสู่คลังสิ่งพิมพ์แห่งชาติ เพื่อเ็ป็นหลักฐานการพิมพ์ของชาติ รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลกรณีเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์– ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐

การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีขั้นตอน ดังนี้ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ยื่นขอจดแจ้งการพิมพ์ที่หอสมุดแห่งชาติ ส่วนจังหวัดนอกจากนี้ ยื่่นขอจดแจ้งที่สำนักศิลปากรที่ 1-15 ที่มีเขตอำนาจในจังหวัดนั้น ผู้ยื่นคำขอจดแจ้งการพิมพ์จะต้องกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ซึ่งต้องระบุชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาการออก ภาษา ชื่อและที่ตั้งของโรงพิมพ์ ยื่นแบบฟอร์ม พร้อมเอกสารต่างๆ ที่กำหนด เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญของสำนักพิมพ์ ฯลฯ สิ่งสำคัญคือ ตัวอย่างหนังสือ พร้อมลายมือชื่อรับรอง เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ถูกต้องครบถ้วน เช้น ชื่อหนังสือไม่ซ้ำกับหนังสือพิมพ์ที่เคยจดแจ้งไว้ก่อนหน้า คุณสมบัติของบรรณาธิการ และเจ้าของกิจการเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ฯลฯ ผู้ยื่นจดแจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดแจ้งตามอัตราที่กำหนด ผู้ยื่นจดแจ้งจะได้รับหนังสือสคัญแสดงการจดแจ้งเป็นหลักฐาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เที่ยวเมืองน่าน (ตอนที่ ๓) วัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย

ก่อนจะเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองน่าน ในบริเวณใกล้ๆ นั้น มีโบราณสถานวัดน้อย หรือ วัดน้อย ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ตอนแรกที่จะเดินผ่าน ถ้าไม่ได้อ่านป้าย หรือมัคคุเทศก์ไม่ได้แนะนำ  อาจจะเดินผ่านเลยไป วัดน้อย ตั้งอยู่บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองน่าน สร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓ โดยมีมูลเหตุของการสร้างวัดน้อยแห่งนี้ ก็คือ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และกราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดทั้งหมดในน่าน แต่ได้นับจำนวนเกินไปหนึ่งวัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ขึ้นมาให้ครบตามจำนวนที่กราบบังคมทูล พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕ เพียงครั้งเดียว ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ วัดน้อยคงสร้างหลังจากนั้น ด้วยรูปทรงของวัดน้อย เป็นวิหาร ก่ออิฐ ถือปูน กว้าง ๑.๙๘ เมตร ยาว ๒.๓๔ เมตร สูง ๓.๓๕ เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายใน เชื่อว่าเป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย– ( 403 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เที่ยวเมืองน่าน (ตอนที่ ๒)

ในตอนแรกตั้งใจว่าจะกล่าวถึงความงามของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผ่านสายตาของตัวเองที่ทิ้งท้ายในตอนที่ ๑ แต่มาคิดอีกที แนะนำหนังสือของอาจารย์วินัย ปราบริปู เพื่อเป็นคู่ืมือศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังของเมืองน่านดีกว่าค่ะ เสียดาย ที่่พบหนังสือ “จิตรกรรมฝาผนังเมืองน่าน” หลังจากที่ได้ไปเที่ยววัดภูมินทร์ และวัดหนองบัวแล้ว เนื่องจาก หอศิลป์ริมน่าน เป็นจุดแวะวันสุดท้ายก่อนกลับ ไม่เช่นนั้น คงได้ใช้หนังสือนี้ เป็นตัวช่วยให้ได้ชื่นชมความงามของภาพจิตรฝาผนังและทราบประวัติได้เป็นอย่างดีทีเดียว ภาพหน้าปกจะเป็นชายหนุ่ม หญิงสาว ทำท่่ากระซิบกัน เลียนแบบภาพปู่ม่าน-ย่าม่าน (ที่อยู่ข้างหลัง) ซึ่งเ็ป็นภาพที่มัคคุเทศก์มักจะชี้ชวนให้ดู เป็นกระซิบบันลือโลก ท่านใดที่มีแผนจะไปเที่ยวน่าน แนะนำให้หาหนังสือเล่มนี้ติดมือไปด้วย หรืออ่านไปก่อนก็ดีค่ะ อ้อ! หนังสือเล่มนี้ มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษด้วย สามารถแนะนำให้ชาวต่างประเทศอ่านเล่มนี้ก็ได้ หรืออ่านแล้วใช้เป็นคู่มือในการอธิบายให้ชาวต่างประเทศได้ค่ะ– ( 234 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments