magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 23)
formats

เริ่มพัฒนาม้ามเทียมฟอกเลือดติดเชื้อ

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เริ่มพัฒนาม้ามเทียมฟอกเลือดติดเชื้อ สถาบัน Wyss เพื่อวิศวกรรมชีววิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ออกมาประกาศการเริ่มต้นค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีทำความสะอาดเลือดแบบใหม่โดยใช้ม้ามเทียม ที่จะช่วยรักษาการติดเชื้อทางกระแสเลือดในคนได้ โครงการนี้มีมูลค่าสูง 9.25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) สหรัฐอเมริกาอีกด้วย อุปกรณ์นี้จะใช้เพื่อการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ป่วยหนัก ๆ หลายราย รวมทั้งทหารที่บาดเจ็บจากสงครามด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154922– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์มดจำลองพฤติกรรมโคโลนีได้แล้ว

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หุ่นยนต์มดจำลองพฤติกรรมโคโลนีได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการจำลองพฤติกรรมของโคโลนี (อาณาจักร) มดได้แล้วโดยใช้หุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ PLOS Computational Biology นี้ เป็นผลงานการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีนิวเจอร์ซี่ย์ สหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการรับรู้ของสัตว์ โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นหาว่ามดแต่ละตัวจัดวางเส้นทางจากรังการเดินอย่างไรจึงเป็นระเบียบและพุ่งไปหาแหล่งอาหารหลาย ๆ แห่ง เป้าหมายหลักของการศึกษาครั้งนี้คือ ศึกษาว่า มดอาร์เจนไตน์มีพฤติกรรมและสื่อสารกันอย่างไรในระบบเส้นทางเดินทั้งแบบสมดุลและไม่สมดุล ซึ่งในธรรมชาตินั้น มดจะทำแบบนี้ได้จากการติดตามกลิ่นฟีโรโมนของตัวอื่น ๆ ในการวิจัยครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์สร้างระบบบหุ่นยนต์ขนาดเท่ากับก้อนน้ำตาลจำนวนมากที่ชื่อว่า Alices โดยหุ่นยนต์สามารถปล่อยลำแสงได้ และหุ่นยนต์ตัวอื่นๆก็สามารถตรวจจับลำแสงของตัวนี้ได้เช่นกันผ่านเซนเซอร์ที่ติดอยู่กับตัวสองอัน ซึ่งก็คือ การจำลองเสาอากาศของมดนั่นเอง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154923– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สแกนสมองเพื่อทำนายอาชญากร

Published on April 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สแกนสมองเพื่อทำนายอาชญากร นักวิทยาศาสตร์จากกลุ่มวิจัยจิตใจในแอลบูเคอร์คี มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา เผยว่าสามารถทำนายความน่าจะเป็นได้ที่คนๆ หนึ่งจะกลับมาเป็นอาชญากรอีกหรือไม่หลังจากที่ปล่อยตัวออกจากเรือนจำไปแล้ว งานวิจัยครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Proceedings of the National Academy of Sciences แล้ว โดยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและต่อต้านสังคม กับความเกี่ยวข้องกับสมองส่วน Anterior Cingulate Cortex (ACC) ที่เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมให้สม่ำเสมอและไม่หุนหันพลันแล่น การศึกษาครั้งนี้ระบุว่า ผู้ต้องขังที่มีกิจกรรมในสมองส่วน ACC ที่น้อยกว่าคนอื่น ๆ มีโอกาสที่จะออกไปก่ออาชญากรรมอีกหลังจากที่ปล่อยตัวออกจากคุก “มากกว่า” ผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ที่มีกิจกรรมในสมองส่วนนี้มาก โดยความน่าจะเป็นดังกล่าวนี้แตกต่างกันถึงสองเท่า “การค้นพบครั้งนี้เป็นการเปิดมุมมองใหม่ว่าในอนาคต สังคมจะจัดการกับความยุติธรรมที่เกี่ยวกับอาชญากรและผู้กระทำความผิดอย่างไร” รศ.ดร.เคนท์ เอ. เคล หัวหน้าโครงการวิจัย และผู้อำนวยการถ่ายภาพ MRN เคลื่อนที่ มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกเผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154924– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC เป็นหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ปลายปี 2554 และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2555 จนออกมาสู่แผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งจะมีการระดมสมองจัดทำแผนฏิบัติการ ในการสัมมนาครั้งนี้ ใน 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน ยุทธศาสตร์ที่ 2 :

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ  เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย.  กำกับ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาหารสามารถช่วยต่อต้านการอักเสบได้

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง อาหารสามารถช่วยต่อต้านการอักเสบได้ การอักเสบเป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่มีระบบการป้องกันตามธรรมชาติ อาจจะมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาของโรคได้ หากมีอาการเรื้อรัง Lauren Whitt, Ph.D. ผ้อำนวยการสถาบัน UAB Employee Wellness และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ กล่าวว่า เป้าหมายของการเกิดกระบวนการอักเสบ เพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการตรวจพบ และทำลายสารพิษที่สร้างความเสียหายให้แก่เนื้อเยื่อ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายสารพิษนั้นทั่วร่างกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถต่อสู้กับการอักเสบได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154918– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดื่มน้ำหวาน : อีกสาเหตุเสียชีวิตมากมายทั่วโลก เครื่องดื่มเกลือแร่ โซดา น้ำผลไม้ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต 180,000 คนทั่วโลกในแต่ละปี จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์เมืองมะกัน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วโลกในปริมาณสูง มีส่วนทำให้ร่างกายน้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่โรคเบาหวาน โรคทางเดินโลหิต ไปจนถึงมะเร็งบางประเภท นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้ข้อมูลการศึกษาเมื่อปี 2010 มาทำการวิเคราะห์จนพบว่าผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลปริมาณมากๆ เป็นโรคเบาหวานจนเสียชีวิตถึง 133,000 ราย เป็นโรคทางเดินโลหิตจนเสียชีวิต 44,000 ราย และเป็นมะเร็งจนเสียชีวิต 6,000 ราย โดย 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้เสียชีวิตจากการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง มากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154908– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลิ่นยีนของตัวอื่นมีผลต่อการเลือกคู่

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กลิ่นยีนของตัวอื่นมีผลต่อการเลือกคู่ นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งทฤษฎีว่า สัตว์และมนุษย์สามารถได้กลิ่นยีน”บางยีน”ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนความสนใจในเรื่องการเลือกคู่ได้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ายีน MHC (major histocompatibility complex) มีส่วนสำคัญต่อการเลือกคู่ดังกล่าว เพราะมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยการเลือกคู่ที่มี MHC ที่แตกต่างกับตัวเองมากๆ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้มาก เพราะจะทำให้ลูกมีโอกาสที่จะมียีนระบบภูมิคุ้มกันที่หลากหลายกว่ามาก ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการมีภูมิคุ้มกันโรคที่มากขึ้นด้วย แต่จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีใครค้นพบข้อมูลกลิ่นของยีน MHC จากของไหลที่ปล่อยออกมาจากมนุษย์หรือสัตว์เลย นักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาและศูนย์โปรตีน จากมหาวิทยาลัยทูบินเก้น และทีมงานจากมหาวิทยาลัยซาร์แลนด์ เยอรมนี ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษายีน MHC และผลการศึกษานี้ก็ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Communications แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาทบทวนทฤษฎี “การดมกลิ่นเลือกคู่” กันใหม่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154909– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มลพิษทางจราจรนั้นเป็นสาเหตุของโรคหืดหอบจริงเหรอ

Published on March 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มลพิษทางจราจรนั้นเป็นสาเหตุของโรคหืดหอบจริงเหรอ มลพิษที่เกิดจากจราจรนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสาเหตุของอาการหืดหอบ แต่งานวิจัยชิ้นใหมได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เด่นชัดยิ่งขึ้น ซึ่งนักวิจัยของทางยุโรปได้กล่าวว่ามลพิษที่เกิดจากจราจรนั้นอาจจะเป็นสาเหตุของอาการหืบหอบในเด็กถึง 14% และทำให้อยู่ในระดับเดียวกันกับการสูบบุหรี่มือสองด้วย เหล่านักวิจัยได้ข้อสรุปโดยการใช้ข้อมูลจากการวิจัยโรคระบาดที่มีอยู่ก่อน รวมถึงงานวิจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงจำนวนของเด็กที่อยู่ใกล้กับรูปแบบจราจรที่คล้ายคลึงกันในเมืองต่างๆ ของยุโรปถึง 10 เมือง “สัดส่วนของผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับถนนที่มีการจราจรหนาแน่นนั้นมีจำนวนสูงมากจนน่าตกใจ” ผู้นำการวิจัย Laura Perez กล่าว “พวกเราได้ทำการประเมินอย่างเดียวกันกับรัฐลอสแอนเจลิสที่มีจำนวนคนอยู่ในละแวกนั้นน้อยกว่ามาก ซึ่งเมื่อการค้นพบนี้ได้ถูกรวมเข้ากับผลการทดลองการงานวิจัยโรคระบาดอื่นๆ เพื่อประเมินผลกระทบของสภาวะดังกล่าว เราได้พบว่าการเผชิญกับสภาพเช่นนี้นั้นอาจเป็นส่วนร่วมสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ก็เป็นได้”รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154910– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยกระบวนการสร้างความจำเชิงพื้นที่ในสมอง

Published on March 28, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกระบวนการสร้างความจำเชิงพื้นที่ในสมอง นักวิทยาศาสตร์ออสเตรียและทีมงานค้นพบกระบวนการการสร้างความจำเชิงพื้นที่ (Spatial Memory) โดยได้แสดงออกมาให้เห็นด้วยภาพแล้ว ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ข้อมูลใหม่จะถูกส่งต่อไปยังความจำผ่านการประมวลผลและการเข้ารหัสข้อมูลในวงจรประสาท ล่าสุด ศาสตราจารย์จอซเซฟ ซิสซ์วารี จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย และเดวิด ดูเพร็ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ค้นพบกระบวนการใหม่ในเซลล์ประสาทเชื่อมกลางยับยั้ง (inhibitory interneurons) ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูในขณะที่กำลังสร้างความจำเชิงพื้นที่แล้ว ในกระบวนการเรียนรู้เชิงพื้นที่นั้น พื้นที่จะถูกแทนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสด้วยการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ศาสตราจารย์จอซเซฟ ซิสซ์วารีและทีมงานได้ศึกษากระบวนการเรียนรู้เชิงพื้นที่ของหนูโดยใช้ระบบเขาวงกตที่ใช้ชีสเป็นตัวล่อ ระบบนี้จะมีหลุมอยู่มากมาย ซึ่งบางหลุมก็จะซ่อนอาหารเอาไว้ โดยการทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความจำเชิงพื้นที่ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.vcharkarn.com/vnews/154911– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments