magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 27)
formats

NIST กำหนดมาตรฐานการทดสอบตะกั่ว

NIST กำหนดมาตรฐานการทดสอบตะกั่วเพื่อช่วยให้ของเล่นเด็กปลอดภัย สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ National Institute of Standard and Technology (NIST) ได้พัฒนาวัสดุอ้างอิงมาตรฐาน เพื่อใช้ทดสอบสารตะกั่วในสีสำหรับของเด็กเล่นขึ้น  ซึ่งวัสดุอ้างอิงมาตรฐานดังกล่าวจะถูกใช้โดยผู้ผลิตสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่า วิธีการที่ใช้ในการทดสอบระดับสารตะกั่วในสีที่ใช้กับของเล่นเด็กมีความแม่นยำสูง  เนื่องจากประเทศสหรัฐฯ มีกฏหมายชื่อ Consumer Product Safety Improvement Act of 2008 (CSPIA) ที่กำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องมีปริมาณสารตะกั่วในสีไม่เกิน 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555— ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เคมีในครัวช่วยอบขนมปังไร้สารกลูเตน

กลูเตน (gluten) เป็นส่วนประกอบสำคัญในขนมปังจากแป้งสาลีที่ทำให้ขนมปังขึ้นฟู กลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายเจลเหนียว ยืดหยุ่น และไม่ละลายน้ำ พบได้ในธัญพืช อาทิ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด กลูเตนจะกลายเป็นเหลวเมื่อเย็น และจะกลายเป็นแข็งเมื่อร้อน  กลูเตนจะก่อตัวเป็นโครงสร้างที่สามารถยืดหยุ่นได้รอบ ๆ ฟองอากาศ   เและคอยดักจับความชื้นเอาไว้ไม่ให้ระเหยออกจากขนมปังในระหว่างกระบวนการอบ   เพื่อให้ได้ขนมปังที่นุ่มและเคี้ยวง่าย  จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่เป็นข้อดีของกลูเตนในขนมปังจากข้าวสาลี  แต่สิ่งที่แย่ก็คือ ผู้บริโภคจำนวนหลายล้านคนทั่วโลกมีอาการแพ้สารกลูเตน แม้จะรับประทานขนมปังไปเพียงเล็กน้อย เพื่อทดแทนการใช้โปรตีนกลูเตนในขนมปัง  นักเคมีอาหารได้ใช้โมเลกุลที่สามารถรับประทานได้ไปสร้างเป็นโครงสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยดักจับน้ำไว้ในระหว่างกระบวนการอบขนมปัง ซึ่งโมเลกุลที่ใช้ทดแทนกลูเตนจะต้องกลายเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น  และกลับไปเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิในขนมปังเย็นลง  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555-  – ( 227 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัคซีน T-Cell ช่วยรักษาโรคหายยาก

บริษัทด้านไบโอเทคโนโลยีกำลังทำการวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางใหม่ในการใช้ยารักษาโรคระบาด การใช้วัคซีนแบบเดิมไม่อาจต่อสู้กับโรคระบาดได้เสียแล้ว  เนื่องจากเชื้อโรคได้ปรับตัวและซ่อนตัวอยู่ภายในเซลล์ของมนุษย์   ดังนั้นวัคซีนแบบเดิมที่แพทย์ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันโรคไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนตัวอยู่ภายในเซลล์ได้  จึงทำให้เราป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น  แต่สำหรับวัคซีน T-Cell สามารถกระตุ้นระบบตอบสนองภูมิคุ้มกันที่แตกต่างจากวัคซีนแบบเดิม  และในทางทฤษฎี T-cell สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคได้  แต่ยังไม่มีนักวิจัยท่านใดประสบความสำเร็จในการนำ5 วัคซีน T-Cell จากการทดลองไปใช้ในการรักษาจริงทางคลินิคได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555— ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การจัดการน้ำขณะที่ประชากรโลกกำลังมากขึ้น

ความต้องการรีบด่วนด้านประสิทธิภาพการจัดการน้ำขณะที่ประชากรโลกกำลังมากขึ้น จากความวิตกในความพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงาน น้ำ และอาหาร ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม  กำลังเป็นความท้าทายด้านนโยบาย  เนื่องจากภายในปี ค.ศ. 2050  นี้ จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นเก้าพันล้านคน  รายงานฉบับนี้ จึงได้เสนอความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรจากการสัมมนาที่จัดขึ้น ณ  AAAS (The American Association for the Advancement of Science) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.  โดยมีวิทยากร คือ Melissa Ho  ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายจาก Bureau for Food Security, US Agency for International Development (USAID) และ Nicole Cart ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายทรัพยากรธรรมชาติจาก Congressional Research Service กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างพลังงาน น้ำ และการผลิตอาหาร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555— ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นิทรรศการพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นิทรรศการพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ King Rama IX: The Great Thai Scientist เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 85 พรรษา 5 ธันวามหาราช องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้นำนิทรรศการชุด King Rama IX: The Great Thai Scientist (พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ) มาจัดแสดงในงานเลี้ยงรับรองวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แก่ทูตานุทูตและหน่วยงานในประเทศสหรัฐฯ ณ Mandarin Hotel วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 3 ธันวาคม 2555 และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 เพื่อให้ประชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาร่วมงานได้ชม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555— ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ของกำนัลจากสยามในสหรัฐอเมริกา

ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ยาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2376 โดยมี สนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์เป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่พัฒนาแน่นแฟ้นขึ้นตามกาลเวลา เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลในการวางนโยบายต่างประเทศในการสร้างความสัมพันธ์กับต่างชาติ   เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ผู้นำของประเทศสหรัฐฯ ได้ถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่กษัตริย์ของไทย เช่น ในสมัยประธานาธิบดี Andrew Jackson สหรัฐฯ ได้ถวายดาบฝักทองคำที่ด้ามสลักเป็นรูปนกอินทรีและช้าง และสิ่งของอื่นๆ และกษัตริย์ของไทยได้พระราชทานสิ่งของต่าง ๆ เป็นการตอบแทน และสิ่งของพระราชทานเหล่านั้นได้ถูกเก็บรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑ์ของสถาบัน Smithsonian ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นว่า ประเทศสยามในอดีตมีวิทยาการก้าวหน้าในการคิดค้นและการประดิษฐ์โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9868—2555— ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific and Technological Activities : STA) ตามคำนิยามของ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) หมายถึง การกระทำอย่างเป็นระบบโดยการสร้าง การทำให้ก้าวหน้า การเผยแพร่ และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและพัฒนา การศึกษาและการฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  หมายถึง งานที่สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนและสะสมความรู้ ทั้งด้านมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการนำความรู้ที่สะสมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาจึงครอบคลุม 3 กิจกรรม คือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) และการพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development) การศึกษาและฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific and Technical Education

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments