magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก นักวิทย์ชี้เห็นสีหน้าแล้วไม่รู้อารมณ์เสมอไป
formats

นักวิทย์ชี้เห็นสีหน้าแล้วไม่รู้อารมณ์เสมอไป

การสื่ออารมณ์ต่างๆ ผ่านทางใบหน้านั้น หลายคนคิดว่าเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้นั้นได้อย่างชัดเจนและสมบูรณ์ แต่ทราบหรือไม่ว่าจากผลการวิจัยที่จะกล่าวต่อไปจากนี้ จะชี้ให้เห็นว่าการอ่านสีหน้าอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าคนๆ นั้นกำลังมีความรู้สึกใดอยู่ได้อย่างถูกต้อง

งานวิจัยชิ้นนี้นำโดย ดร.ฮิลเลล อาฟเวเซอร์ แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮิบรู ดร.ยาคอฟ โทรป แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และ ดร.อเล็กซานเดอร์ โทโดรอฟ แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ค้นพบว่า แม้ตามทฤษฎีเราจะสามารถรับรู้ความรู้สึกเหล่านั้นได้จากการอ่านสีหน้า แต่มันก็ไม่เสมอไป แต่ “ภาษากาย” (Body Languange) ต่างหากที่จะบอกได้ดีกว่าว่า คนที่เราสังเกตอยู่นั้นเจอกับเรื่องที่ดีหรือไม่ดีอะไรมา โดยการศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science

โดยนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลที่แสดงว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมทำการทดสอบถูกหลอกได้เหมือนกันเมื่อให้ดูภาพถ่ายสีหน้าที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริงของคนที่เจอกับเรื่องที่ดีสุดๆหรือร้ายสุดๆมา และเมื่อให้อาสาสมัครตอบว่า คนๆ นั้นมีความรู้สึกอย่างไรนั้น (ดีหรือร้าย) อาสาสมัครมักตอบผิด

ในการทดลองการบอกความรู้สึกจากสีหน้านั้น นักวิจัยนำเสนอภาพ 12 ภาพของคนที่เจอกับเหตุการณ์สุดขั้วในชีวิตจริงให้กับอาสาสมัครแต่ละคนดู ตัวอย่างเช่น ให้ดูสีหน้าของนักเทนนิสอาชีพแล้วตอบให้ได้ว่า ตอนนี้กำลังได้แต้มหรือกำลังเสียแต้ม ภาพเหล่านี้เป็นภาพในอุดมคติเพราะเป็นภาพที่มาจากเหตุการณ์จริง เล่นจริง และมีคุณภาพ

นักวิจัยต้องการจะศึกษาว่า คนจะรับรู้ภาพต่างๆได้อย่างไร จึงได้ทำการแสดงภาพที่แตกต่างกันสามแบบ แต่ละแบบจะให้อาสาสมัครคนละกลุ่มดู ได้แก่ กลุ่มแรก ดูภาพเต็มตัวที่เห็นทั้งสีหน้าและร่างกาย กลุ่มที่สอง จะให้เห็นเฉพาะร่างกายโดยไม่เห็นสีหน้า และกลุ่มที่สาม จะเห็นเฉพาะสีหน้าและไม่เห็นร่างกาย

จากการทดลองพบว่า กลุ่มที่สามารถตอบได้อย่างถูกต้องว่า ภาพนี้เป็นภาพของคนที่กำลังได้แต้มหรือเสียแต้มคือกลุ่มคนที่เห็นภาพเต็มตัว หรือเห็นเฉพาะร่างกาย แต่กลุ่มที่เห็นเฉพาะสีหน้านั้น โอกาสตอบถูกน้อยกว่า

น่าแปลกที่ว่า กลุ่มคนที่เห็นภาพเต็มตัว (ทั้งใบหน้าและร่างกาย) นั้นจะรับรู้ความรู้สึกจากสีหน้ามากกว่าร่างกาย โดยนักวิจัยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Illusory valence

ดร.อาฟเวเซอร์ และทีมงาน ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม โดยได้ให้อาสาสมัครประเมินสีหน้าของภาพที่ได้มาจากเหตุการณ์จริงในชีวิตประจำวันเช่นเดิม แต่ในกรณีนี้จะมีภาพที่เจอทั้งเหตุการณ์ดี (เช่น สนุก ปลื้ม ชนะ) และเหตุการณ์ไม่ดี (เช่น เศร้า เจ็บปวด และพ่ายแพ้)

ผลการศึกษาคือ อาสาสมัครไม่สามารถบอกได้ว่า สถานการณ์นี้ดีหรือไม่ดี และนักวิจัยศึกษาเพิ่มเติม โดยแสดงภาพของสีหน้าเหล่านี้แต่ตัดต่อให้ไปอยู่บนร่างกายที่บอกได้ว่า มีอารมณ์ดีหรือร้าย ซึ่งเป็นการบอกได้แน่ชัดแล้วว่า การรับรู้ความรู้สึกจากใบหน้าที่คล้ายๆกันกัน แต่ร่างกายแตกต่างกันนั้น อาสาสมัครจะแยกแยกด้วยภาษาทางร่างกาย และให้คำตอบออกมาได้ค่อนข้างดี

ดร.อาฟเวเซอร์ชี้ กล่าวว่า “ผลการศึกษาครั้งนี้บอกได้ว่า เมื่ออารมณ์กำลังถึงขีดสุด ความแตกต่างระหว่างใบหน้าที่แสดงความรู้สึกดีหรือแย่นั้นจะเริ่มไม่ชัดเจนแล้ว การศึกษาครั้งนี้ทำให้โมเดลพฤติกรรมของวงการประสาทวิทยา จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ ที่เราเคยเชื่อกันนั้นต้องทบกวนกันใหม่แล้ว เพราะการแยกแยะคนจากสีหน้านั้น ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป หากนำไปทดสอบทางคลินิก ผลการทดสอบอาจจะทำให้นักวิจัยเข้าใจได้แล้วว่า ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับสีหน้าเป็นเช่นไร ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นออทิสติกที่ไม่สามารถแสดงความรู้สึกทางสีหน้าได้ ถ้าถูกฝึกให้แสดงออกมาทางร่างกาย บางที การแสดงออกของพวกเขาเหล่านั้นอาจจะดีขึ้นมาได้”

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.sciencedaily.com/releases/2012/11/121129143314.htm

รายการอ้างอิง :

Natty_sci. รู้หน้าไม่รู้ใจ!นักวิทย์ชี้เห็นสีหน้าแล้วไม่รู้อารมณ์เสมอไป . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.vcharkarn.com/vnews/154700. (วันที่ค้นข้อมูล 4 ธันวาคม 2555).

 – ( 210 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


five × 3 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>