magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

วิธีหามวลดาวเคราะห์แบบใหม่

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะนักวิจัยได้พูดถึงการศึกษาเรื่องมวลของดาวเคราะห์ โดยศึกษาจากขนาดของดาวเคราะห์ และองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเรียกวิธีการนี้สั้นๆ ว่า MassSpec วิธีการนี้สามารถใช้ศึกษาดาวเคราะห์บางดวง และสามารถใช้วิเคราะห์ความหนาของชั้นบรรยากาศที่ปกคลุม โดยคำนวณมวลของดาวเคราะห์นอกระบบ HD 189733b ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหมาจิ้งจอก (Constellation Vulpecula) อยู่ห่างจากโลก 63 ปีแสง พบว่ามีกลุ่มก๊าซร้อนขนาดใหญ่ เพราะว่าดาวเคราะห์นอกระบบนี้มีขนาดใหญ่ การวิเคราะห์มวลจึงใช้วิธีวัดอัตราความเร็วแนวเล็ง หรือความเร็วในแนวรัศมี นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังคงทำการศึกษามวล และประเมินความเป็นไปได้ในการดำรงชีวิตของสิ่งชีวิตบนดาวเคราะห์ต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/17689-science-and-technology-news

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2557). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2557. ค้นข้อมูลวันที่ 18 เมษายน 2557 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


5 × six =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>