magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก “วัสดุสัมผัสอาหาร” อันตรายใกล้ตัว
formats

“วัสดุสัมผัสอาหาร” อันตรายใกล้ตัว

วัสดุสัมผัสอาหาร (Food Contact Materials : FCM) คือ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่นําไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือสัมผัสกับอาหาร ตั้งแต่อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร จาน กระบวนการผลิต ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ โดยจะครอบคลุมวัสดุต่างๆ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ ยาง ซิลิโคน จุกคอร์ก หมึกพิมพ์ โลหะและโลหะผสม สารเคลือบผิว สารเคลือบเงา ฯลฯ วัสดุสัมผัสอาหารจึงกลายเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สําคัญของอาหารทุกชนิด และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายกับอาหารและสุขภาพของผู้บริโภคได้

ดังนั้น ภาชนะบรรจุอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตอาหารสำเร็จรูป เพราะวัสดุเหล่านี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นสาร inert (สารที่ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ หรือเกิดปฏิกิริยาได้ยาก) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของวัสดุที่สัมผัสกับอาหารเช่น โมโนเมอร์ สารเติมแต่ง (additive) สารช่วยขึ้นรูป (processing aid) หรือปฏิกริยาของผลผลิตพลอยได้ (by-product) พลาสติไซเซอร์ สเตบิไลเซอร์ สารป้องกันยูวี สารเหล่านี้สามารถซึมเข้าสู่อาหารได้

สำหรับวัสดุสัมผัสอาหารที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปและได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคแล้ว จะได้รับอนุญาตให้มีการติดฉลากที่ผลิตภัณฑ์สํญลักษณ์ดังภาพ (ภาพของแก้วไวน์และส้อม)

ถึงแม้ว่าสารปนเปื้อนที่จะลงไปอยู่ในอาหารนั้นจะมีปริมาณต่ำ แต่เมื่อคำนึงถึงระยะยาวแล้วอาจเกิดการสะสมในร่างกายของมนุษย์เป็นปริมาณมากได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก วัสดุสัมผัสอาหารอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

 – ( 113 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − 5 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>