“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้” สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย

“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้”  สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย

“ความภาคภูมิใจในตัวเอง” เป็นหนึ่งแรงพลังที่ทำให้คนเราตระหนักรู้ถึงความสุขในสิ่งที่ทำ ปลุกความหวัง สร้างความสดชื่นให้จิตใจโดยเฉพาะในวันที่เดินเข้าสู่ช่วง “ชีวิตสูงวัย” “คุณสวัสดิ์ การะหงษ์” วัย 65 ปี เจ้าของ “ลุงสวัสดิ์ฟาร์มไส้เดือนดินริมปิง” และอดีตผู้บริหารหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ก็เช่นกัน แม้พื้นฐานชีวิตจะเป็นเกษตรกร แต่ลุงสวัสดิ์คลุกคลีกับงานบริหารท้องถิ่นมากว่า 30 ปี เส้นทางการเติบโตที่มั่งคงในงานบริหารท้องถิ่นจากผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จนถึงรองนายกเทศมนตรีตำบล แต่ในใจกลับมีความรู้สึกบางอย่างที่คลอนแคลน “อยู่ในสังคมที่กว้างมาก แต่ความรู้เราแค่ป.4 ไปไหนก็ไม่มั่นใจที่พูดคุย และเดี๋ยวนี้เด็กจบใหม่มีความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี แต่เราไม่มี อายเด็กรุ่นใหม่ มีวันนึง เจ้าหน้าที่ให้ช่วยปิดคอมพิวเตอร์ ลุงก็ดึงปลั๊กออกเลย” ความรู้สึกที่คลอนแคลนสะสมมาเนิ่นนานย้อนให้ลุงสวัสดิ์ได้ทบทวนและวางเส้นทางในช่วงชีวิตบั้นปลาย เมื่อไส้เดือนดินย่อยขยะในใจ การได้พบปะผู้คนหลากหลายวงการถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในช่วงที่ลุงสวัสดิ์ทำงานบริหารท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ลุงได้พบเส้นทางในชีวิตหลังเกษียณ “ลุงไปอบรมเรื่องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากอาจารย์อานัฐ ตันโช ม.แม่โจ้

หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

ในช่วงหลายปีมานี้กระแสความนิยมเลี้ยง “ไส้เดือนดิน” มีมากขึ้น ด้วยเป็นตัวเอกที่ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำไส้เดือนดินที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสวยงาม  แม้จะมีผู้สนใจเลี้ยงไส้เดือนดินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ที่นับวันจะมีมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีที่วันนี้นักวิจัยไทยได้ค้นพบแมลงตัวน้อยอีกชนิดหนึ่งที่ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีไม่น้อยกว่าไส้เดือนดิน และยังมีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ รวมทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกไม่น้อย จาก “ไส้เดือนดิน” ถึง “หนอนแม่โจ้” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553 ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร