สท.-ม.กาฬสินธุ์ เดินหน้ายกระดับ “ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์” ด้วยเทคโนโลยี

สท.-ม.กาฬสินธุ์ เดินหน้ายกระดับ “ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์” ด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับคุณภาพผ้าไหมทอมือพื้นเมืองบ้านแสนสุข ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โดยมีคุณเอี้ยง วันดี ผู้นำกลุ่มผ้าไหมทอมือประยุกต์บ้านแสนสุข และสมาชิกในชุมชนกว่า 40 คน ร่วมเรียนรู้และทดสอบใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ทำความสะอาดเส้นไหมของกลุ่มฯ กว่า 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชในชุมชนเพื่อนำมาสกัดสี ได้แก่ เปลือกต้นธนนไชย (ภาษาเขมรเรียก หล่งจี๊) ใบต้นสะแบง (ภาษาเขมรเรียก ตราย) ร่วมกับการใช้มอร์แดนท์ต่างๆ ทำให้ได้สีทั้งหมด 6

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศลยกระดับกลุ่มผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี

สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศลยกระดับกลุ่มผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เทคโนโลยีเอนไซม์และการออกแบบลายอัตลักษณ์สิ่งทอพื้นเมือง” ให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหมสีธรรมชาติ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มผลิตผ้าไหมที่ได้รับรองตรานกยูงพระราชทาน* มีนายกนก วงศ์รัฐปัญญา น.ส.ปวีณา ทองเกร็ด นักวิจัย สวทช. และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้คุณสมบัติของเอนไซม์กับการทำความสะอาดเส้นไหม ทำให้ได้เส้นไหมนุ่ม ลื่น ติดสีได้ดีขึ้น ผู้เข้าอบรมร่วมทดสอบนำเส้นไหมมาย้อมสีธรรมชาติจากสะเดาและเปลือกอะลาง โดยใช้โคลน สารส้มและปูนใสเป็นสารมอร์แดนท์ ทำให้เกิดโทนสีน้ำตาลมากกว่า 6 เฉดสี นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้รับความรู้เรื่องการออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์