การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และถ่ายทอดแนวทางการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

ร้อยเอ็ด

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)” Quick Win:  ข้าว พืชหลังนา โคเนื้อ บริหารจัดการน้ำ ผักอินทรีย์ สมุนไพร สิ่งทอ ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน Training Hub 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม3. การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และถ่ายทอดแนวทางการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร6. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 7. การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม8. สถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลตำบลคำพอุงและวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ทสม.อนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ (ภูกุ้มข้าว) จัดกิจกรรม “ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ วัดภูกุ้มข้าว ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาและกระเจียวคุณภาพเพื่อการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน และส่งเสริมปทุมมาให้เป็นพืชทางเลือก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ นิทรรศการแสดงการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา แปลงสาธิตปทุมมาสายพันธุ์จากงานวิจัย การประกวดอาหารพืชถิ่นจากพืชในชุมชน เช่น กระเจียว