สท. ผนึกหน่วยงานเครือข่าย เดินหน้ายกระดับผลิตโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ตั้งเป้าผสมเทียมโคคุณภาพ 400 ตัว

สท. ผนึกหน่วยงานเครือข่าย เดินหน้ายกระดับผลิตโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ตั้งเป้าผสมเทียมโคคุณภาพ 400 ตัว

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และปศุสัตว์จังหวัดยโสธร ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ด้วย 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีด้านการพัฒนาพันธุ์และการดูแลโคเนื้อ กลุ่มเทคโนโลยีด้านอาหารโคเนื้อ และกลุ่มเทคโนโลยีด้านมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อและการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ หลังจากเมื่อกลางเดือนมกราคมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการตามโปรแกรมการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อให้แม่พันธุ์โคเนื้อจำนวน 100 ตัวแรก ใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นักวิชาการ สท. พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่ายได้ลงพื้นที่อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อถอด

สท.-หน่วยงานเครือข่าย ถ่ายทอดเทคโนโลยีเหนี่ยวนำการตกไข่-ผสมเทียมโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ

สท.-หน่วยงานเครือข่าย ถ่ายทอดเทคโนโลยีเหนี่ยวนำการตกไข่-ผสมเทียมโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และปศุสัตว์อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อ นำร่องกับโค 20 ตัวในอำเภอราษีไศล โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับจัดการฝูงแม่พันธุ์โคให้ผลิตลูกโคเนื้อได้จำนวนมากในรุ่นเดียวกัน นำไปสู่ระบบการเลี้ยงและการขุนโคเนื้ออย่างเป็นระบบ ลดค่าใช้จ่ายการจัดการฟาร์มและเพิ่มรายได้จากการเสียโอกาสที่แม่โคทิ้งช่วงท้องว่างนาน สท. และหน่วยงานเครือข่ายมีแผนขยายผลเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด รวม 100 ตัว รวมถึงแผนการผสมเทียมเพื่อยกระดับสายพันธุ์โคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างน้อย 400 ตัว ให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด

สท. เติมความรู้-ฝึกทักษะเกษตรกร “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งกุลาฯ”

สท. เติมความรู้-ฝึกทักษะเกษตรกร “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งกุลาฯ”

เมื่อวันที่ 25-29 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์ 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคราม ศรีสะเกษและยโสธร) และศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อพันธุ์ดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ณ ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นนวัตกรด้านการผสมเทียมโค เกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทั้งความรู้และทักษะการผสมเทียมโคที่ถูกต้อง นำไปใช้พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อให้มีคุณภาพ