สท.-ไบโอเทค ผนึกพันธมิตร ส่งต่อความรู้ “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์”

สท.-ไบโอเทค ผนึกพันธมิตร ส่งต่อความรู้ “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์”

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) จังหวัดชลบุรี และศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมอบรม “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์” ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านมาบชโอน ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีนายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดงานและบรรยายในหัวข้อ “ทิศทางตลาดทุเรียนปลอดภัย” และมีทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การใช้ชีวภัณฑ์และคู่มือปฏิบัติงานเบื้องต้นในสวนทุเรียน” “การสำรวจและควบคุมแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน” และ “การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนด้วยราไตรโคเดอร์มา” นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค

สท. ร่วมออกหน่วย “คลินิกพืชเคลื่อนที่จังหวัดจันทบุรี”

สท. ร่วมออกหน่วย “คลินิกพืชเคลื่อนที่จังหวัดจันทบุรี”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกิจกรรม “คลินิกพืชเคลื่อนที่ ครั้งที่ 1” จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ทุเรียน ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยมีหน่วยงานเครือข่ายจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี ให้บริการความรู้เรื่องโรคพืชแก่เกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งบริการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชเบื้องต้นและให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของพืชด้วยหลักการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรและพื้นที่ นางสาวเบญจา สุทธาโร นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. ได้ร่วมนำเสนอองค์ความรู้และเทคโนโลยีของ สวทช. ที่เกษตรกรสามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เช่น เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ นวัตกรรมถุงห่อผลไม้ Magik Growth ระบบน้ำเกษตรอัจฉริยะ ปุ๋ยคีเลต เป็นต้น เกษตรกรให้ความสนใจสอบถามข้อมูลและร่วมแลกเปลี่ยนความรู้การใช้เทคโนโลยี

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์

เสวนาออนไลน์ “รู้จัก-รู้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอย่างมืออาชีพ”

เสวนาออนไลน์ “รู้จัก-รู้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอย่างมืออาชีพ”

คลิปวิดีโอย้อนหลัง https://youtu.be/3ujl7grRsPQ คำถาม-คำตอบจากเวทีเสวนา เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียปฏิปักษ์ (บีเอส, บีเอ) บิวเวอเรีย-เมตาไรเซียม อื่นๆ เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ Q: ปัจจัยใดที่ทำให้ชีวภัณฑ์ตายหรือไม่ได้ประสิทธิภาพ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วA: อากาศร้อน แสงแดด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นชีวภัณฑ์นั้นๆ Q: จำนวนสปอร์ชีวภัณฑ์แบบผงกับแบบสดแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันA: สปอร์ในชีวภัณฑ์แบบสดมีประสิทธิภาพจัดการกับศัตรูพืชมากกว่าแบบผงหรือแบบแห้ง แต่จะมีอายุสั้นกว่า ทนกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าแบบผง Q: สารชีวภัณฑ์​สามารถเป็นสารกลายพันธุ์​ในมนุษย์​ได้หรือไม่A: อาจจะส่งผลต่อมนุษย์ ถ้าสารชีวภัณฑ์นั้นเป็นสารสกัดหรือสารพิษที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อระบบในร่างกายมนุษย์ด้วย แต่ถ้าเป็นชีวภัณฑ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีชีวิตและผ่านการตรวจสอบพิษวิทยาแล้ว ทั้งหมดไม่มีผลต่อมนุษย์ Q: สารชีวภัณฑ์กลุ่มจุลินทรีย์เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียนและผึ้งหรือไม่ A: การเลือกชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาเพื่อใช้ในการจัดการศัตรูพืช จะต้องมีการทดสอบมาก่อนแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อ ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง รวมถึงมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Q:

“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้

“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้

ยิ่งเราทำบ่อยก็ยิ่งเชี่ยวชาญ ดูคุณภาพจากสปอร์ฟุ้ง ไม่มีเส้นใย ส่งตรวจมีปริมาณสปอร์ตามมาตรฐานที่ได้รับถ่ายทอดจาก สวทช. -สุนทร ทองคำ- “ไม่ได้มองว่าชีวภัณฑ์ที่เราผลิตจะเป็นรายได้หลัก แต่การส่งเสริมให้คนใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำมากกว่า” คำบอกเล่าจาก สุนทร ทองคำ ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บ่งบอกความตั้งใจของเขาบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ที่มี ‘ชีวภัณฑ์’ เป็นอาวุธสำคัญ สุนทร เติบโตในครอบครัวชาวนา เห็นความยากลำบากในงานเกษตรมาแต่เล็ก เขาจึงปฏิเสธที่จะเดินตามอาชีพของครอบครัว มุ่งสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่เอื้อความสะดวกสบาย แต่เมื่อภาระงานประจำที่ถาโถม ทำให้เขาเริ่มหวนคิดถึงห้องทำงานในธรรมชาติ “ตอนนั้นมองทุกอาชีพ ถ้าไปขายของ ก็มองความแน่นอนไม่มี ถ้าจะไปรับจ้าง แล้วเราจะลาออกมาทำไม พรสวรรค์ตัวเองก็ไม่มี ก็เลยมองว่าเกษตรนี่ล่ะน่าจะตอบโจทย์ตัวเองที่สุด” สุนทร วางแผนและเตรียมตัวก่อนลาออกจากงานอยู่ 2 ปี เริ่มต้นเป็น “เกษตรกรวันหยุด” เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่