สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส นายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตปี 2” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือการดำเนินโครงการฯ กับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิต และเกษตรอำเภอจาก 6 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองจันทร์

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมหารือการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม นายอนุวัตร โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อถั่วเขียว KUML ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานภายใต้กลไกตลาดนำการผลิต นอกจากนี้ สวทช. โดย สท. และ ธ.ก.ส. ยังได้หารือร่วมกับนายวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้บริหารบริษัท

การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลดำเนินงานปี 2566 คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

แผนงานและผลการดำเนินงานปี 2566   คลิกดาวน์โหลดเอกสาร

ศรีสะเกษ

สวทช. โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้ (ปี พ.ศ.2567-2571)”  Quick Win:  ข้าวหอมมะลิ สิ่งทอ ถั่วเขียว สมุนไพร ผักอินทรีย์ มันสำปะหลัง พริก โคเนื้อ การท่องเที่ยว 1. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกร 3. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผักในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร 4. การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม5. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมือง 6. การยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยนวนุรักษ์แพลตฟอร์ม เป้าหมาย: เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงเทคโนโลยี 3,344 คน