นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่เติมความรู้เกษตรกร EEC จัดการโรคพืชแมลงศัตรูพืชในผัก

นักวิชาการ สท. ลงพื้นที่เติมความรู้เกษตรกร EEC จัดการโรคพืชแมลงศัตรูพืชในผัก

เมื่อวันที่ 20-22 มกราคม 2568 นายธีรพัชส ประสานสารกิจ นักวิชาการอาวุโส และน.ส.ทิฆัมพร แสงโสภา นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. พร้อมด้วย ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ที่ปรึกษาด้านจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำ “การจัดการโรคพืชและแมลงศัตรูพืชในการผลิตพืชผัก” แก่เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักในพื้นที่ EEC (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) ได้แก่ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชลบุรี วิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง และเครือข่ายกลุ่ม PGS แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพบปัญหาเพลี้ยและหนอน โดยได้แนะนำให้ใช้ราบิวเวอเรียหรือใช้ไวต์ออยล์ (Vite oil) จัดการเพลี้ย

สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

สท.-ไบโอเทคขยายผลข้าวสายพันธุ์ใหม่-ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกับเกษตรกรทุ่งกุลาฯ สุรินทร์-มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 13-18 มกราคม 2568 น.ส.ทิฆัมพร แสงโสภา นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะ พร้อมด้วย ดร.ศรีสวัสดิ์ ขันทอง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ลงพื้นที่ประชุมหารือและประเมินความพร้อมกลุ่มเกษตรกรอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รวม 15 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีและการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี การทดสอบข้าวสายพันธุ์ใหม่ และการใช้จุลินทรีย์เพื่อยับยั้งโรคพืชและย่อยสลายตอซังข้าวในฤดูกาลผลิต 2568 พร้อมทั้งติดตามเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเมื่อปี 2567 ข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยนักวิจัยไบโอเทค ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์ คือ

นักวิชาการ สท. ติดตามให้คำแนะนำเกษตรกรมหาสารคามผลิตพืชผักในโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ

นักวิชาการ สท. ติดตามให้คำแนะนำเกษตรกรมหาสารคามผลิตพืชผักในโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับนายลิขิต มณีสินธุ์ นักปรับปรุงพันธุ์พืช ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำการบริหารจัดการผลิตผักคุณภาพและโรงเรือนปลูกพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เกษตร Organic ของดียางสีสุราช และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม รวม 33 คน พบว่า หลังจากที่เกษตรกรได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชและการบริหารจัดการผลิตผักคุณภาพ สามารถปลูกพืชผักได้หลายชนิดมากขึ้นและได้ผลผลิตดี เช่น ผักตระกูลสลัด กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง หอมแบ่ง แต่ยังพบปัญหาการทำลายของหนอนกระทู้ผักและหนอนใยผัก จึงได้แนะนำวิธีจัดการโดยหมั่นสำรวจและเก็บหนอนในแปลง พร้อมทั้งฉีดพ่นบาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือบีทีในตอนเย็น สำหรับอาการปลายใบไหม้ในหอมแบ่ง แนะนำให้ใช้สารสกัดจากเปลือกไข่

สท.-สนง.เกษตรจังหวัดจันทบุรี เติมความรู้ชีวภัณฑ์ให้ชาวสวนทุเรียนผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียม

สท.-สนง.เกษตรจังหวัดจันทบุรี เติมความรู้ชีวภัณฑ์ให้ชาวสวนทุเรียนผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียม

เมื่อวันที่ 13-15 มกราคม 2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียมสายพันธุ์ BCC4849“ ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวม 90 คน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนาทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านเสม็ดงาม อำเภอเมืองจันทบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านมาบชโอน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีน.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการ สท. และคณะ เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมทั้งสาธิตการผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียมบนข้าวสาร โดยเชื้อราเมตาไรเซียมสายพันธุ์ BCC4849

การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

ดาวน์โหลด เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ “เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว” ดาวน์โหลด การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ดาวน์โหลด การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรจังหวัดพังงา ร่วมจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกาะยาวปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรจังหวัดพังงา ร่วมจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกาะยาวปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 9-10 มกราคม 2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา จัดอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาเสริมรายได้” ให้เกษตรกรผู้สนใจปลูกพืชหลังนาอำเภอเกาะยาวและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวม 160 คน ณ เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา โดยมีน.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สท./สวทช. เป็นวิทยากรในหัวข้อ “เทคโนดลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจรและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว” และรศ.ดร.ประกิจ สมท่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรในหัวข้อ “เทคโนโลยีการเก็บเมล็ดพันธุ์ (ถั่วเขียว) คุณภาพดีไว้ใช้เอง” นอกจากนี้ทีมวิทยากรและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาได้ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพเกษตรกรในตำบลเกาะยาวใหญ่ซึ่งให้ความสนใจปลูกถั่วเขียว KUML หลักสูตรอบรมครั้งนี้จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ภายใต้กิจกรรมพัฒนาระบบเกษตรในพื้นที่อำเภอเกาะยาว ภายใต้โครงการพัฒนาการผลิตภาคการเกษตรที่มีศักยภาพเสริมสร้างรายได้ให้เกษตรกรจังหวัดพังงา เพื่อพัฒนาการผลิตพืชหลังนาสร้างรายได้เพิ่ม

สท. ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในเวที “พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็น Young Smart Farmer ปี 2568 จังหวัดจันทบุรี”

สท. ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีในเวที “พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็น Young Smart Farmer ปี 2568 จังหวัดจันทบุรี”

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ก้าวสู่ผู้ประะกอบการเกษตรสมัยใหม่” ในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เวทีที่ 1 ตามโครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)) ปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี โดยแนะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการแปลงทุเรียนของ สวทช. ได้แก่ ระบบการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (ระบบไวมาก) การจัดการศัตรูพืชทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (SOP ชีวภัณฑ์) ถุงห่อคัดเลือกช่วงแสง “Magik

สท. ติดตาม-เสริมความรู้วางแผนผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

สท. ติดตาม-เสริมความรู้วางแผนผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามการผลิตผักอินทรีย์ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์และวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เกษตร Organic ของดียางสีสุราช ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ภายใต้ “โครงการการยกระดับเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนและการบริหารจัดการผลิตพืชผัก” ที่ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ซึ่งเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากโครงการฯ ไปปรับใช้สร้างโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำจากวัสดุในท้องถิ่นรวม 33 โรงเรือน และติดตั้งเทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำ Water Fit Simple จำนวน 2 จุด เพื่อเรียนรู้และปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่และการผลิตผัก จากการติดตามพบว่า เกษตรกรประสบปัญหาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผัก เช่น โรคพืช ผักช้ำ ผักเหี่ยว