เปิดประวัติแก๊สน้ำตา เรียกน้ำตามากว่าศตวรรษ

  • แก๊สน้ำตา ภาษาอังกฤษคือ tear gas หรือ asphyxiant, lachrymatory gas, lacrimator, lachrymator, poison-gas, riot control agent ฯลฯ
  • แก๊สน้ำตาเป็นชื่อเรียกกลุ่มสารเคมีที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองตา จมูก ปาก ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง นำมาใช้เพื่อยับยั้ง สกัด ขัดขวาง ขัดจังหวะคนให้หยุดทำกิจกรรมที่ทำอยู่ไปชั่วขณะ
  • แม้จะชื่อแก๊สน้ำตาแต่สถานะไม่ใช่แก๊ส สารที่บรรจุอยู่ข้างในเป็น “ของเหลว” หรือ “ของแข็งที่เป็นฝุ่นผง”
  • แก๊สน้ำตาเปิดตัวครั้งแรกในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2457 โดยกองทหารฝรั่งเศสใช้ระเบิดมือที่บรรจุสารไซลิลโบรไมด์ (xylyl bromide) สู้รบกับทหารเยอรมัน (แต่บางแหล่งก็บอกว่าสารที่ใช้อาจจะเป็นเอทิลโบรโมอะซีเตตซึ่งฝรั่งเศสเคยทดสอบใช้งานก่อนจะเกิดสงครามโลก)
  • หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ธุรกิจแก๊สน้ำตาเฟื่องฟูขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
  • สารเคมีที่นำมาใช้ทำแก๊สน้ำตามีหลายประเภท หลายสูตร ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ CS (chlorobenzylidenemalononitrile), CN (chloroacetophenone), CR (dibenzoxazepine) และ OC หรือสเปรย์พริก
  • แก๊ส CS คิดค้นโดย Ben Corson และ Roger Stoughton นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2471 (ชื่อ CS ก็มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของทั้งสองคน)
  • สเปรย์พริก (OC) ทำมาจาก oleoresin capsicum ซึ่งเป็นสารสกัดจากพริก มีฤทธิ์แสบร้อน
  • ในยุคแรก ๆ แก๊สน้ำตาบรรจุในระเบิดมือ แต่ก็มีการพัฒนารูปแบบไปตามกาลเวลา มีทั้งที่เป็นกระป๋อง ขวดสเปรย์ ปืน อาจใช้ขว้าง ปา พ่น หรือยิง
  • ปี พ.ศ. 2536 มีข้อตกลงห้ามใช้แก๊สน้ำตา “ในการทำสงคราม” ตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention) แต่ยังสามารถใช้แก๊สน้ำตาในการสลายจลาจลได้ ด้วยการตีความว่ามันเป็นอาวุธที่ไม่ได้มุ่งเอาชีวิตเป็นหลัก (less lethal weapon) อย่างไรก็ตามแก๊สน้ำตาอาจแค่สร้างความระคายไปจนถึงทำให้บาดเจ็บ เจ็บหนัก หรือเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวิธีการใช้
  • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุหลักการใช้งานแก๊สน้ำตาในการควบคุมจลาจลไว้ว่า ต้องยิง/ขว้างจากระยะไกล เป็นวิถีโค้งให้ไปตกหน้าฝูงชน ไม่ยิง/ขว้างใส่คนโดยตรง ไม่ใช้ในที่แคบที่ไม่มีอากาศถ่ายเท
  • แก๊สน้ำตาออกฤทธิ์ได้ทันที และคงอยู่ได้นานประมาณ 15-30 นาที
  • หลังจากสัมผัส ให้รีบออกจากบริเวณนั้นไปยังพื้นที่โล่งหรือหลบขึ้นที่สูง (ละอองสารเคมีจะตกลงพื้น) แล้วชำระล้างทั่วร่างกายด้วยน้ำเปล่าโดยด่วน ถ้ารู้สึกแสบตาให้ล้างตาด้วยการลืมตาในน้ำเปล่า 10-15 นาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแก๊สน้ำตาให้มากที่สุด เสื้อผ้าหรือสิ่งของที่โดนแก๊สน้ำให้ถอดใส่ถุงพลาสติกรวมไว้ ก่อนนำไปซัก/ล้าง ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะอาจทำให้สารเคมีระเหยได้
  • อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการโดนแก๊สน้ำตา ได้แก่ ระคายเคืองตา น้ำตาไหล มองภาพไม่ชัด ตาแดง จมูกบวมแดง น้ำมูกไหล ปากบวม น้ำลายไหลตลอดเวลา เกิดภาวะกลืนลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม ผิวหนังไหม้ มีผื่น คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการข้างเคียงร้ายแรงจากการโดนแก๊สน้ำตาอาจถึงขั้นตาบอด หรือเสียชีวิตจากสารเคมีปริมาณมากเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจและปอด

อ้างอิงข้อมูล

https://www.theatlantic.com/international/archive/2014/08/100-years-of-tear-gas/378632/

https://www.vox.com/2020/6/3/21277995/police-tear-gas-protests-history-effects-violence

https://emergency.cdc.gov/agent/riotcontrol/factsheet.asp

https://www.ohchr.org/Documents/HRBodies/CCPR/LLW_Guidance.pdf

About Author