สองนักวิจัยหญิงผู้คิดค้นเทคนิคตัดต่อพันธุกรรม “คริสเปอร์-แคสไนน์” คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมี 2020

          ศาสตราจารย์ เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และศาสตราจารย์ เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน เป็นสองนักชีวเคมีและพันธุศาสตร์หญิง ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้ไปครอง ด้วยผลงานการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม (Genome) ซึ่งวิธีนี้มีชื่อเรียกกันว่า “คริสเปอร์-แคสไนน์” (CRISPR-Cas9)

          แม้เทคนิคนี้จะเพิ่งคิดค้นขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน แต่ก็มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางและหลากหลายอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีของปีนี้กล่าวว่า “การที่เราตัดต่อแก้ไขดีเอ็นเอตรงจุดไหนก็ได้ตามต้องการนั้น เท่ากับเราสามารถจะเขียนรหัสแห่งชีวิตเสียใหม่ และปฏิวัติวงการชีววิทยาศาสตร์”

          ทั้งนี้ “กรรไกรพันธุกรรม” (genetic scissors) ซึ่งสามารถออกแบบวางโปรแกรมล่วงหน้าให้แก้ไขข้อมูลพันธุกรรมได้ตามต้องการ และควบคุมการทำงานได้แม่นยำในระดับที่ละเอียดมาก มีจุดเริ่มต้นจากการที่ศ. ชาร์เพนทิเยร์ ค้นพบโมเลกุล RNA ชนิดหนึ่งในแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes

          โมเลกุลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกันในเซลล์สิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถจะยับยั้งไวรัสได้ด้วยการตัดแบ่งแยกสายดีเอ็นเอของไวรัสให้ขาดจากกัน


รายละเอียดเพิ่มเติม >> https://www.bbc.com/thai/international-54451257

About Author