ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) เป็นกระบวนการช่วยเหลือ สนับสนุนบุคลากรในองค์กร ที่ประกอบด้วยพี่เลี้ยง (Mentor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญ สามารถจะเป็นผู้ที่ดูแล ให้คำแนะนำแก่ น้องเลี้ยง (Mentee) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ แต่ยังมีประสบการณ์น้อย ต้องการผู้ชี้นำทาง ซึ่งจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และจัดการความรู้ (Knowledge Management) สร้างความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานจากบุคลากรสู่บุคลากร และนอกจากนี้ ยังสร้างความสัมพันธ์พันธ์อันดีภายในองค์กรให้เกิดขึ้น ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก การโค้ช (Coaching) หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานและผู้ใต้บังคับบัญชา (Supervising)

            คุณสมบัติของ Mentor นั้น นอกจากการ ชี้แนะ ให้การฝึกฝน กำกับดูแลความก้าวหน้าของ Mentee คำปรึกษาทั้งด้านการงานและด้านชีวิต แล้วนั้น ยังต้องสามารถเป็นผู้สามารถทำให้เกิดส่งต่อความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวตน (Tacit Knowledge) ของ Mentor นอกเหนือจากการให้ความรู้แบบรูปธรรม (Explicit knowledge) โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ระบบพี่เลี้ยงประสงความสำเร็จได้แก่ การจับคู่ Mentor-Mentee ที่เหมาะสม การให้ความสำคัญในการสื่อสาร (Communication) และการได้รับความยอมรับซึ่งกันและกัน

            ทั้งนี้ องค์กรควรให้ความสำคัญ และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีระบบพี่เลี้ยง มีฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะคอยสนับสนุนระบบพี่เลี้ยง ติดตามกำหนด KPI ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ประเด็นที่ต้องการถ่ายทอด และประเมินผลภาพรวมขององค์กร และคืนข้อมูลให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานต่อไป

 

อ้างอิง