งานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

09:00 
- 12:00 น.
feature image_B1-29A-04

วิทยากร

ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล, ดร. พีรวัฒน์ สายสิริรัตน์, ดร. พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ, ดร. นุวงศ์ ชลคุป and ดร. บุญญาวัณย์ อยู่สุข

จากมูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ รวมกันประมาณ 1.1 แสนล้านบาท
เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง จากนโยบายภาครัฐที่ต้องการเพิ่มสัดส่วน
การใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 ในส่วนของพลังงาน
มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง
สามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ

เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงพืช ผลผลิต และวัสดุเหลือใช้สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน  อีกทั้งยังสามารถสร้างโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพก็มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ เป็นสารประกอบหรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมิคอลมีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่า GDP ในหมวดนี้ เป็น 2.6 แสนล้านบาท

ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศ ที่ถูกนำมาใช้ในภาคอุปโภค บริโภค โดยมีปริมาณการผลิตน้ำมันปาล์มกว่า 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งกว่าครึ่งถูกนำไปใช้ในรูปพลังงานคือ เชื้อเพลิงไบโอดีเซล แต่ด้วยแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีการขนส่งไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับการบังคับใช้มาตรฐานมลพิษยานยนต์สันดาปภายในที่สะอาดขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวในห่วงโซ่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มกว่า 3 แสนครัวเรือน ซึ่งในงานสัมมนาวันนี้จะได้หยิบยกงานวิจัยที่จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ อันได้แก่

  • โครงการศึกษาการใช้น้ำมันไบโอดีเซลกับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กมาตรฐานไอเสีย EURO5 ซึ่งสอดคล้องกับ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561-2580 ที่ตั้งเป้าการใช้ไบโอดีเซลที่ 8 ล้านลิตร/วัน ในปี 2580 และมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 ที่กำหนดมาตรฐานไอเสียรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก EURO5 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ให้เป็น EURO5 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
  • โครงการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน และโครงการพัฒนาโอลิโอเคมีภัณฑ์มูลค่าสูงจากน้ำมันปาล์มสำหรับการใช้งานทางด้านการหล่อลื่น ซึ่งสอดคล้องกับ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 มิถุนายน 2564 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ เมื่อ 30 เมษายน 2564 ที่กำหนดให้น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ควรส่งเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศ

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

เอกสารประกอบการบรรยาย

กำหนดการสัมมนา:

09.00 – 09.05 น.

กล่าวรายงานที่มาของงานสัมมนา 
โดย ดร. นุวงศ์ ชลคุป
หัวหน้าทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

09.05 – 09.10 น.

กล่าวเปิดงานสัมมนา 
โดย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

09.10 – 09.20 น. Virtual group photo
09.20 – 09.50 น.

แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
โดย ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

09.50 – 10.20 น.

โครงการศึกษาการใช้น้ำมันไบโอดีเซลกับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กมาตรฐานไอเสีย EURO5
โดย ดร. พีรวัฒน์ สายสิริรัตน์
นักวิจัยทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

10.20 – 10.50 น.

โครงการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน
โดย ดร. บุญญาวัณย์ อยู่สุข
หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

10.50 – 11.20 น.

โครงการพัฒนาโอลิโอเคมีภัณฑ์มูลค่าสูงจากน้ำมันปาล์มสำหรับการใช้งานทางด้านการหล่อลื่น
โดย ดร. พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ
นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

11.20 – 12.00 น. ตอบข้อซักถาม

*หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

 

 

 

 

เกี่ยวกับวิทยากร

ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร. พีรวัฒน์ สายสิริรัตน์
นักวิจัยทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร. พรประภา พิทักษ์จักรพิภพ
นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร. นุวงศ์ ชลคุป
หัวหน้าทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ดร. บุญญาวัณย์ อยู่สุข
หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

สัมมนาอื่นๆ ​: