การพัฒนาศักยภาพการใช้เถ้าหนักเพื่อใช้เป็นวัสดุมวลรวมละเอียดในผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต

Introduction:

ถนนผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตเป็นถนนที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อเปรียบเทียบกับถนนผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไป เนื่องจาก เป็นผิวทางที่มีรูพรุนสูง น้ำซึมผ่านได้ดี ทำให้ไม่เกิดแผ่นฟิล์มน้ำที่ผิวถนน ช่วยป้องกันการลื่นไถลของยานพาหนะขณะที่ฝนตก

อย่างไรก็ตาม ผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตยังไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจาก การผลิตพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต จำเป็นต้องใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยพอลิเมอร์ (PMA) ที่มีความหนืดสูง เพื่อป้องกันการเกิดการไหลแยกตัวของแอสฟัลต์ซีเมนต์จากมวลรวม แต่ PMA มีราคาสูงกว่า AC60/70 ซึ่งเป็นแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไปถึงร้อยละ 38 จึงทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างถนนพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตสูงกว่าถนนแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไป

จากเหตุผลดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้ AC60/70 ร่วมกับเถ้าหนัก (วัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ที่มีสมบัติและสมรรถนะใกล้เคียงกับพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้ PMA แต่มีต้นทุนในการก่อสร้างต่ำกว่าถึงร้อยละ 24 ผลลัพธ์ของงานวิจัยจะส่งเสริมให้เกิดการก่อสร้างถนนที่มีความปลอดภัยสูง ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG

 

 

จุดเด่นของพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตที่พัฒนาจากงานวิจัย

  • มีรูพรุนสูง (ช่องว่างอากาศร้อยละ 20±2) น้ำซึมผ่านได้ดี
  • ลดการเกิดแผ่นฟิล์มน้ำที่ผิวถนนขณะฝนตก
  • เพิ่มความเสียดทานระหว่างล้อยางและผิวถนนขณะฝนตก
  • ต้นทุนการก่อสร้างต่ำกว่าผิวทางพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีตทั่วไปร้อยละ 24

การทดสอบสมรรถนะทางวิศวกรรมและมาตรฐาน

  • มีสมบัติและสมรรถนะทางวิศวกรรม ตามมาตรฐานงานพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต มทช. 237-2563 ของกรมทางหลวงชนบท และมาตรฐานงานพอรัสแอสฟัลต์คอนกรีต ทล.-. 414/2542 ของกรมทางหลวง

ติดต่อสอบถาม
ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
email : suksun@g.sut.ac.th

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข

นิทรรศการอื่นๆ :