การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG บนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

Introduction:

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ดำเนินธุรกิจหลักในด้านการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ. 

ปัจจุบัน กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศรวมจำนวนทั้งสิ้น 50 แห่ง มี นอกจากนี้ยังรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก และผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และประเทศมาเลเซีย 

ในส่วนของการส่งไฟฟ้า กฟผ. ดำเนินการจัดส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ และยังจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ สปป.ลาว และประเทศมาเลเซีย  

จะเห็นได้ว่าจากการดำเนินงานที่หลากหลายของ กฟผ. นั้นย่อมมีทั้งการใช้ทรัพยากร ทั้งในรูปของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป พลังงาน รวมถึงก่อให้เกิดของเสียจากกิจกรรมการดำเนินงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น กฟผ.   จึงได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy, CE) มาปรับใช้ในการดำเนินงาน โดยเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแนวตรง (Linear Economy) ที่ก่อให้เกิดของเหลือทิ้งและของเสียตกค้างในระบบนิเวศ สู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการคงคุณค่าของทรัพยากร ให้ความสำคัญเรื่องการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ครอบคลุมไปถึงการออกแบบและการบริการที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ  ลดผลกระทบเชิงลบให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการยกระดับของอุตสาหกรรมไฟฟ้าสู่ความยั่งยืนของประเทศด้วยนวัตกรรมและเป็นที่ยอมรับในสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตสู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต 

ที่มา : ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ (อสค.) , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เป้าหมายหลักและผลลัพธ์ของโครงการ

ประเมินศักยภาพการดำเนินงานของ กฟผ. ในการจัดทำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร (Circular Economy) ด้วยกรอบแนวคิดหรือเครื่องมือด้านความยั่งยืน  เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนที่เหมาะสมสำหรับบริบทขององค์กร  ผลลัพธ์จากการศึกษา คือ แผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ของ กฟผ. ที่ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งองค์กร และแนวทางการดำเนินงานของ กฟผ. ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและมุ่งสู่ความยั่งยืนต่อไป 

 

ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตการวิจัยและวิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ 
จัดทำกรอบแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ. โดยกิจกรรมการดำเนินการประกอบด้วย

  • ทบทวนการดำเนินงานตามบริบทของ กฟผ และประเมินสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมของ กฟผ.  โดยใช้แนวคิดการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment, LCA) เพื่อให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ทรัพยากรและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของ กฟผ. ที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง เหมืองวัตถุดิบและเชื้อเพลิงรวมไปถึงระบบสำนักงาน 
  • ระดมสมองเพื่อพิจารณากิจกรรมใน กฟผ. ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและนำมาเป็นโครงการนำร่องด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามกรอบแผนยุทธศาสตร์
  • สัมภาษณ์ผู้บริหารในทุกสายงานเพื่อให้เห็นถึง วิสัยทัศน์ ทิศทาง มุมมองต่อแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของกฟผ.
  • ทบทวนมาตรการ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ในภาพนโยบายของประเทศ ลงมาสู่กรอบการทำงานของ กฟผ. เพื่อนำมากำหนดป็นเกรอบแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ.

เตรียมความพร้อมและจัดทำข้อมูลเพื่อให้ กฟผ. เป็นองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามกรอบการดำเนินการ มาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ (มตช. 2-2562)

 

ผลการดำเนินงาน 

ในการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน  ได้กำหนดกรอบแนวคิดเป็น 4 ด้านหลักๆเพื่อประกอบการพิจารณาการดำเนินงานด้วยแนวคิดตลอดวัฏจักรชีวิต จากกรอบแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยพิจารณาในประเด็น

  • การลดการใช้วัตถุดิบและทรัพยากร 
  • การลดการเกิดของเสีย
  • การใช้ประโยชน์ของเสีย
  • การนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนรวมถึงการเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ 

โดยเมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าด้วยกรอบแนวคิดการพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตหรือตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้นแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถนำไปดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

ที่มา : โครงการ “การศึกษาศักยภาพองค์กรในการจัดทำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ. เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา (ก.พ. 64 – ก.พ. 65) ได้กำหนดกรอบแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ. โดยพิจารณาครอบคลุมการทำงานในด้านต่างๆ ของ กฟผ.ดังนี้

ที่มา : โครงการ “การศึกษาศักยภาพองค์กรในการจัดทำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ. เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

จากแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้กำหนดโครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการและกรอบแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตัวอย่างโครงการที่สำคัญมีดังนี้

โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro-Floating Solar Hybrid Project)
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro-Floating Solar Hybrid Project) เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนคือพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังพัฒนาไปในมมของการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการใช้พื้นที่ดินโดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อน โดยเริ่มกดำเนินการต้นแบบที่เขื่อนสิริธร   และจะชยายผลไปยังเขื่อนต่างๆ ภายใต้การดำเนินการของ กฟผ. อีกประมาณ 16 โครงการ  ซึ่งสอดคล้องกับในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 หรือ PDP2018 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) ที่มีวัตถุประสงค์จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าแบบพลังงานหมุนเวียนในอนาคตด้วย 

โครงการนี้ตอบโจทย์แนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ในมุมของการลดการใช้วัตถุดิบที่ใช้แล้วหมดไป เช่นเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่างๆโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทน นอกจากนี้ยังสามารถลดการใช้พื้นที่ ซึ่งใช้ประโยชน์ผิวน้ำที่ออยู่ในเขื่อนแทนการใช้ผืนดิน ทำให้ลดการใช้ที่ดินไปได้อีกทางหนึ่งซึ่งนอกจากนี้ยังลดการเกิดของเสียในมุมของมลสารทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 

โครงการอื่นๆ ที่อยูระหว่างการวางแผนการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น

โครงการบริหารจัดการซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร : โดยสอดคล้องกับแนวคิดการพิจารณาตั้งงแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเพื่อลดการใช้พลังงานในช่วงการใช้งานผลิตภัณฑ์) โดยเน้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของ กฟผ. รวมถึงในอนาคต กฟผ.มีแผนจะเรียกเก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้มาจัดการอย่างถูกวิธีและดึงวัสดุที่อยู่ในซากผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่รอบสองให้มากขึ้น

โครงการจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ : ดำเนินการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยวางแผนจะนำซากของแบตเตอรี่และแผงโซลาร์เซลล์หลังจากการใช้งานแล้วมาดำเนินการจัดการอย่างถูกวิธี รวมถึง ในอนาคตมีแผนจะดำเนินการ Re-purpose Battery and Solar โดยดึงวัสดุที่อยู่ในซากผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 

โครงการ บางกรวย Green Community : โดยให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบโรงไฟฟ้าของ กฟผ. รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน มีการให้การสนับสนุนการดำเนินการด้วยแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่ชุมชนรอบองค์กร เช่น สนับสนุนให้มีการใช้เรือที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E Boat) เป็นต้น

แผนในอนาคต
กฟผ. วางแผนจะดำเนินการทั้งการเปลี่ยนผ่านองค์กรให้เข้าสู่การเป็นองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและดำเนินการอย่างต่อเนื่องดังนี้

กฟผ. วางแผนจะเป็นองค์กรที่ดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ครอบคลุมการดำเนินการทั่วทั้งองค์กร จึงได้วางแผนจะนำกรอบแนวคิดด้านการเป็นองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยได้นำกรอบแนวคิดการเป็นองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ทื่อ้างอิงจาก มาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ (มตช.) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มาใช้ประกอบการดำเนินการ

ดำเนินการโครงการต่างๆ ที่ตอบกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครอบคลุมการดำเนินการทั่วทั้งองค์กร โดยมีการตรวจติดตาม ประเมินผล และทบทวนการดำเนินงานเพื่อจัดทำเป็นแผนระยะยาวต่อไป โดยครอบคลุมการดำเนินการทั้ง 8 สายงานของ กฟผ. เพื่อให้เป็นองค์กรชั้นนำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของ กฟผ. ต่อไป

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ทีมวิจัย TIIS

นายอธิวัตร จิรจริยาเวช

หัวหน้าโครงการฯ/ทีมวิจัย

นายเสกสรร พาป้อง   

ทีมวิจัย

นายจิตติ มังคละศิริ  

ทีมวิจัย

นางสาวฤทัยรัตน์ วิศาลสุวรรณกร  

ทีมวิจัย

นางฤทัย อ่อนพุทธา  

ผู้ประสานโครงการฯ/ทีมวิจัย

นางสาวสุรีพร ขอนพิกุล 

ทีมวิจัย

นางสาวธิติยา ภักดีสม

ทีมวิจัย

ทีมผู้เชี่ยวชาญโครงการ

ศ.ดร.วิบูลย์ ศรีเจริญชัยกุล

ผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ ด้านไฟฟ้าและพลังงาน
สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์

ผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ ด้านเศรษฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา

ผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ ด้านนวัตกรรมและเศรษฐกิจหมุนเวียน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

นิทรรศการอื่นๆ :